เมนู

ทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อม
ระงับ.
[89] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป
ก่อน.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติ. ในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ-
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิมเรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว
เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่าสังฆาทิเสสเป็นการขนานนาม
คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


ติกะสังฆาทิเสส


[90] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[91] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ยอมสละ 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา
1 ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10 จบ



อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 10 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า เอวาจารา คือ ผู้มีอาจาระอย่างนี้ ความว่า มีอาจาระเช่น
อย่างอาจาระของพวกท่าน. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นนี้ .
บทว่า อญฺฐาย แปลว่า ด้วยความดูหมิ่น คือ ด้วยความรู้กดให้ต่ำ.
บทว่า ปริภเวน ได้แก่ ด้วยความรู้เหยียดหยามอย่างนี้ว่า แม่พวกนี้
จักกระทำอะไรได้ ?
บทว่า อกฺขนฺติยา คือ ด้วยความไม่อดกลั้น ความว่า ด้วยความ
โกรธเคือง.
บทว่า เวภสฺสา คือ ด้วยความเป็นผู้มีเสียงขู่เข็ญ ความว่า ด้วย
การขู่ให้หวาดกลัวด้วยประกาศกำลังของตน ๆ.
บทว่า ทุพลฺยา คือ เพราะพวกท่านเป็นคนอ่อนแอ. บัณฑิตพึง
เห็นอรรถสมุจจัยในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยความดูหมิ่น และด้วยความ
เหยียดหยาม.