เมนู

บทภาชนีย์


ติกสังฆาทิเสส


[83] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[84] ยังไม่สวดสมนุภาส 1 ยอมสละ 1 วิกลจริต 1 มีจิตฟุ้งซ่าน
1 กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9 จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 9 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า สํสฏฺฐา คือ เป็นผู้คลุกคลีปนเปกัน.

บทว่า อนนุโลมิเกน คือ ไม่สมควรแก่พวกบรรพชิต.
สามบทว่า กายิเกน วาจสิเกน สํสฏฺฐา มีความว่า ผู้คลุกคลี
ด้วยการคลุกคลีอันเป็นไปทางกาย มีการซ้อมข้าว หุงข้าว บดของหอม ร้อย
พวงดอกไม้เป็นต้น เพื่อพวกคฤหัสถ์ และด้วยการคลุกคลีกันอันเป็นไปทาง
วาจา มีการรับส่งข่าวสาสน์และข่าวสาสน์ตอบ และการชักสื่อเป็นต้น แก่พวก
คฤหัสถ์. เกียรติศัพท์ของพวกภิกษุณีเหล่านี้เสียหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้มีเกียรติศัพท์เสียหาย. ความเป็นอยู่ กล่าวคืออาชีพของพวกภิกษุณีเหล่านี้
เลวทราม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้มีอาชีพเลวทราม. คำที่เหลือพร้อมทั้ง
สมุฏฐานเป็นต้นตื้นทั้งนั้น.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9 จบ


สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[85] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา
ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้วยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่น
ที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณี
สงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในหมู่สงฆ์ ไม่เห็น
สงฆ์ว่าอะไรภิกษุณีเหล่านั้น พวกท่านเท่านั้นถูกสงฆ์ว่ากล่าวด้วยความดูหมิ่น
ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ และเพราะความที่