เมนู

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอได้


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในพระเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก
ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-

พระบัญญัติ


182. 37. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จัก
ไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน .
เรื่องพระอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์


อันภิกษุไม่อาพาธ ไม่พึงขอสูปะ หรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน
มาฉัน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์
แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


ไม่แกล้ง 1 เผลอ 1 ไม่รู้ตัว 1 อาพาธ 1 ขอต่อญาติ 1 ขอต่อคน
ปวารณา 1 ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น 1 จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 1 มีอันตราย
1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ 8


[838] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีความมุ่งหมายจะ
เพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น . . .

พระบัญญัติ


138. 38. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา
แลดูบาตรของผู้อื่น.

สิกขาบทวิภังค์


อันภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ภิกษุใด
อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุพวก
อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


ไม่แกล้ง 1 เผลอ 1 ไม่รู้ตัว 1 แลดูด้วยคิดว่าจักเติมของฉันให้ หรือ
จักสั่งให้เขาเติมถวาย 1 มิได้มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ 1 มีอันตราย 1
วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ 9


[839] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่.

พระบัญญัติ


184. 39. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้
ใหญ่นัก.