เมนู

ทุกกฏ


ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร
ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.
มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์
สมมติว่าเป็นเสกขะ. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่. . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์
สมมติว่าเป็นเสกขะ. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[793] ภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ 1 ภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุฉันของเป็นเดน
ของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้อาพาธ 1. ภิกษุฉันภิกษาที่เขาจัดไว้
ในที่นั้นเพื่อภิกษุอื่น ๆ 1 ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขานำออกจากเรือนไปถวาย 1
ภิกษุฉันนิตยภัต 1 ภิกษุฉันสลากภัต 1 ภิกษุฉันปักขิกภัต 1 ภิกษุฉันอุโปส-
ถิกภัต 1 ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต 1 ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก
ที่เขาถวายบอกว่า เมื่อปัจจัยมีก็นิมนต์ฉัน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ
1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 3 จบ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อุภโต ปสนฺนํ มีความว่า เขาเลื่อมใสทั้ง 2 คน คือ
ทั้งอุบาสกทั้งอุบาสิกา. ได้ยินว่า ในสกุลนั้น ชนแม้ทั้ง 2 นั้นได้เป็นพระ-
โสดาบันเหมือนกัน.
สองบทว่า โภเคน หายติ มีความว่า ก็ตระกูลเช่นนี้ ถ้าแม้นมี
ทรัพย์ถึง 80 โกฏิ ก็ย่อมร่อยหรือจากโภคทรัพย์. เพราะเหตุไร ? เพราะทั้ง
อุบาสกทั้งอุบาสิกาในตระกูลนั้นไม่สงวนโภคทรัพย์.
คำว่า ฆรโต นีหริตฺวา เทนฺติ มีความว่า อุบาสกอุบาสิกานั้น
นำไปยังโรงฉัน หรือวิหารแล้วถวาย. ถ้าแม้นเมื่อภิกษุยังไม่มา พวกเขานำออก
มาก่อนทีเดียว วางไว้ที่ประตูแล้วถวายแก่ภิกษุผู้มาถึงภายหลัง ควรอยู่. ท่าน
กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ภัตที่ตระกูลนั้นเห็นภิกษุแล้วนำออกมาถวายจาก
ภายในเรือน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 นีเวทนา 3 ดังนี้
แล.
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 3 จบ