เมนู

อนาปัตติวาร


[787] ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง 1 ถวาย
ภัตตาหารของผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย 1 สั่งให้ถวายภัตตาหารที่เขาไม่ได้ถวาย 1
สั่งให้เขาถวายในภิกษุที่เขาไม่ได้ถวาย 1 สั่งให้ถวายเท่า ๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป 1
สิกขมานาสั่งเสีย 1 สามเณรีสั่งเสีย 1 เว้นโภชนะห้า อาหารทุกอย่างไม่เป็น
อาบัติ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 2 จบ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 2


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 2 พึงทราบดังนี้:-
คำว่า อปสกฺก ตาว ภคินิ เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุ
พึงรุกราน.
ในคำว่า อตฺตโน ภตฺตํ ทาเปติ น เทติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีถวายภัตของตนเอง ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้เลย เป็น
อาบัติโดยสิกขาบทก่อน.
ก็ในคำว่า อญฺญสฺส ภตฺตํ เทติ น ทาเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถ้าภิกษุณีใช้ให้ถวาย พึงเป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้, แต่เมื่อภิกษุณีถวายเอง
ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้และไม่เป็นโดยสิกขาบทก่อน. คำที่เหลือใน
สิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3
มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 2 จบ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 3


เรื่องตระกูลหนึ่ง


[788] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ใน
พระนครสาวัตถี มีตระกูลหนึ่งเป็นตระกูลที่เลื่อมใส ทั้งสองสามีภรรยาเจริญ
ด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เขาได้สละของเคี้ยวของฉันอันเป็นอาหาร
มื้อเช้า ซึ่งบังเกิดในตระกูลนั้นทั้งหมด แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บางคราวถึง
กับอดอาหารอยู่ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้รับอาหารไม่รู้จักประมาณ สามีภรรยาคู่นี้ได้ถวาย
แก่สมณะเหล่านี้แล้ว บางคราวถึงกับอดอาหารอยู่ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้าน
พวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เราอนุญาต
ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลพึงให้เสกขสมมติอย่างนี้.
เสกขสมมติ
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจา ว่าดังนี้:-