เมนู

อนาปัตติวาร


[783] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ 1 ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติสั่งให้ถวาย มิได้
ถวายเอง 1 เก็บวางไว้ถวาย 1 ถวายในอาราม 1 ในสำนักภิกษุณี 1 ใน
สำนักเดียรถีย์ 1 ในโรงฉัน 1 นำออกจากบ้านแล้วถวาย 1 ถวายยามกาลิก
สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยคำว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ นิมนต์ฉันได้ 1 สิกขมานา
ถวาย 1 สามเณรีถวาย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา


ปาฏิเทสนียธรรมเหล่าใดที่พระธรรม
สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งไว้ในลำดับพวก
ขุททกสิกขาบท บัดนี้จะมีการวรรณนาปาฏิ-
เทสนียธรรมเหล่านั้นดังต่อไปนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 1 ก่อน :-

[ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]


บทว่า ปฏิกฺกมนกาเล คือ ในเวลาเป็นที่เที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับมา.
สองบทว่า สพฺเพว อคฺคเหสิ คือ ได้รับเอาภิกษาไปทั้งหมด.
บทว่า ปเวเธนฺตี แปลว่า เดินซวนเซอยู่.
บทว่า อเปหิ แปลว่า จงถอยไป. อธิบายว่า ท่านยังไม่ให้โอกาส.

คำว่า คารยฺหํ อาวุโส เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุพึง
แสดงคืน.
บทว่า รถิกา แปลว่า ถนน.
บทว่า พฺยูหํ ได้แก่ ตรอกตันไม่ทะลุถึงกัน ไปถึงแล้วต้องย้อน
กลับมา.
บทว่า สิงฺฆาฏกํ ได้แก่ ที่ชุมทาง 4 แยก หรือ 3 แยก.
บทว่า ฆรํ ได้แก่ เรือนแห่งสกุล.
บรรดาสถานที่ มีถนนเป็นต้นเหล่านี้ ภิกษุยืนรับในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
เป็นทุกกฏ เพราะรับ. เป็นปาฏิเทสนียะ โดยการนับคำกลืน. แม้สำหรับภิกษุ
ผู้รับในสถานที่มีโรงช้างเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ภิกษุณียืนถวายที่ถนน,
ภิกษุยืนรับในละแวกวัดเป็นต้น เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ก็บัณฑิตพึงทราบอาบัติในปาฎิเทสนียสิกขาบทที่ 1 นี้ ด้วยอำนาจ
แห่งนางภิกษุณีผู้ยืนถวายในละแวกบ้าน โดยพระบาลีว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺฐาย
ดังนี้. ก็ที่ซึ่งภิกษุยืนอยู่ไม่เป็นประมาณ. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า ภิกษุยืน
ในถนนเป็นต้น รับจากนางภิกษุณีผู้ถวายในละแวกวัดเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติแล
คำว่า ภิกษุรับประเคน ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวก เพื่อ
ประโยชน์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ. ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอากาลิกที่ไม่ได้ระคนกับอามิส. แต่ในกาลิกที่
ระคนกัน มีรสเป็นอันเดียวกัน เป็นปาฏิเทสนียะเหมือนกัน.
สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผ้อุปสมบทใน
สำนักแห่งภิกษุณีทั้งหลาย. แต่ภิกษุผู้รับจากมือแห่งภิกษุณี ผู้อุปสมบทใน
สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย เป็นปาฏิเทสนียะตามสมควรแก่วัตถุทีเดียว.

สองบทว่า ทาเปติ น เทติ มีความว่า ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติใช้ผู้อื่น
บางคนให้ถวาย, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับขาทนียโภชนียะนั้น.
สองบทว่า อุปกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า ภิกษุณีวางบนพื้นแล้ว
ถวายว่า พระคุณเจ้า ! ดิฉันถวายขาทนียโภชนียะนี้แก่ท่าน. ภิกษุรับของที่
ภิกษุณีถวายอย่างนี้ พร้อมกับกล่าวว่า ขอบใจนะน้องหญิง แล้วให้ภิกษุณีนั้น
นั่นเอง หรือใช้ผู้อื่นบางคนรับประเคนแล้วฉัน ควรอยู่.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอาอามิสในบาตรที่อยู่ใน
มือ ถวายว่า ดิฉันสละถวายท่าน ภิกษุรับประเคนอามิสที่ภิกษุณีถือไว้ด้วย
กล่าวว่า น้องหญิง ! เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ.
สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา มีความว่า เมื่อสิกขมานาและ
สามเณรีเหล่านี้ถวาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้น
ทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 1 จบ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์


[784] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวพุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล มีภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์มายืน
บงการให้เขาถวายของแก่พระฉัพพัคคีย์ว่า จงถวายแกงที่ท่านองค์นี้ จงถวาย
ข้าวที่ท่านองค์นี้ พวกพระฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามความต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นฉัน
ไม่ได้ดังจิตประสงค์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามปรามภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ผู้บงการเล่า . . .แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอไม่ห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายผู้บงการอยู่ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงไม่ห้ามปรามภิกษุณีผู้บงการอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-