เมนู

รตนวรรค สิกขาบทที่ 10


เรื่องพระนันทะ


[776] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระนันทะโอรสพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ทรงโฉมเป็นที่ต้อง
ตาต้องใจ ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า 4 องคุลี ท่านทรงจีวรพระสุคต ภิกษุ
เถระได้เห็นท่านพระนันทะมาแต่ไกล ครั้นแล้วลุกจากอาสนะสำคัญว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จมา ท่านพระนันทะเข้ามาใกล้จึงจำได้ แล้วเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระนันทะจึงได้ทรงจีวรเท่าจีวรของพระสุคตเล่า. . .
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ ข่าว
ว่า เธอทรงจีวรเท่าจีวรสุคต จริงหรือ
ท่านพระนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนนันทะ ไฉนเธอจึง
ได้ทรงจีวรเท่าจีวรของสุคตเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุนชนที่เลื่อม
ใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


141. 10. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือ
ยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของ
พระสุคตในคำนั้น โดยยาว 9 คืบ โดยกว้าง 6 คืบ ด้วยคืบสุคต นี้
ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต.
เรื่องพระนันทะ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[777] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า มีประมาณเท่าสุคตจีวร คือ โดยยาว 9 คืบ โดยกว้าง
6 คืบ ด้วยคืบสุคต.
บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค
เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้จีวรมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์


จตุกปาจิตตีย์

[778] จีวรตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์