เมนู

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาเที่ยงวันแล้วไป ตราบเท่าถึงอรุณ
ขึ้นมาใหม่.
คำว่า เข้าไปสู่บ้าน ความว่า เมื่อเดินล่วงเครื่องล้อมของบ้านที่มี
เครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงอุปจารบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
คำว่า เว้นไว้แต่กิจรีบด่วนมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ เว้นไว้แต่มี
กิจจำเป็นที่รีบด่วนเห็นปานนั้น.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[749] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว
เข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เวลาวิกาล ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้
แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน
เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ


ในกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ในกาล ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ในกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล . . . ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[750] เข้าไปสู่บ้านเพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น 1 อำลาภิกษุที่
มีอยู่แล้วเข้าไป 1 ภิกษุไม่มี ไม่อำลา เข้าไป 1 ไปสู่อารามอื่น 1 ภิกษุไป
สู่สำนักภิกษุณี 1 ภิกษุณีไปสู่สำนักเดียรถีย์ 1 ไปสู่โรงฉัน 1 เดินไปตามทาง
อันผ่านบ้าน 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการบอกลาก่อนเข้าบ้านในเวลาวิกาล]


บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำเป็นเหตุขัดขวางต่ออริยมรรค.
บทว่า ราชกถํ ได้แก่ ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยพระราชา. แม้ในโจร-
กถาเป็น ต้นก็นัยนี้เหมือนกัน . คำที่ควรกล่าวในคำว่า สนฺตํ ภิกขุ นี้ มี
นัยดังกล่าวแล้วในจาริตตสิกขาบทนั่นแล.
ถ้าว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน จะเข้าไปยังบ้านด้วยการงานบางอย่าง, เธอ
ทุกรูปพึงบอกลากันและกันว่า วิกาเล คามปฺปเวสนํ อาปุจฺฉาม แปลว่า
พวกเราบอกลาการเข้าบ้านในเวลาวิกาล. การงานนั้นในบ้านนั้นยังไม่สำเร็จ
เหตุนั้น ภิกษุจะไปสู่บ้านอื่น แม้ตั้งร้อยบ้านก็ตามที, ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา
อีก. ก็ถ้าว่า ภิกษุระงับความตั้งใจแล้ว กำลังกลับไปยังวิหาร ใคร่จะไปสู่
บ้านอื่นในระหว่างทางต้องบอกลาเหมือนกัน. ทำภัตกิจในเรือนแห่งสกุลก็ดี ที่