เมนู

ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่
ภายในที่อยู่พัก สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจารที่อยู่พัก.
บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
[742] คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี .ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ
ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้
นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูปหรือตามนิมิต
เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของ ๆ ผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามาใน
ที่นั้น พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของ ๆ ท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณ
หรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง
เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น
แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่
อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป.
คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดี
ยิ่งในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร


[743] ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ
ว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด
ผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ 1 ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ 1 ภิกษุถือเป็น
ของขอยืม 1 ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสกุล 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ 2 จบ

รัตนสิกขาบทที่ 2


ในสิกขาบทที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยสถานที่ และของตกที่ควรเก็บไม่ควรเก็บ]


บทว่า วิสฺสริตฺวา แปลว่า ได้ลืมไว้. 5 เหรียญกษาปณ์ จาก
100 เหรียญ ชื่อว่า ปุณณปัตตะ (ร้อยละ 5).
คำว่า กฺยาหํ กริสฺสามิ แปลว่า เราจักกระทำอย่างไร
คำว่า อาภรณํ โอมุญฺจิตฺวา คือ ได้เปลื้องเครื่องประดับชื่อ
มหาลดามีด่า 9 โกฏิออกไว้.
บทว่า อนฺเตวาสี แปลว่า สาวใช้.
2 ชั่วขว้างก้อนดินตกแห่งวัดที่อยู่ ชื่อว่า อุปจาร ในคำว่า อปริกฺ-
ขิตสฺส อุปจาโร
นี้. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สำหรับที่อยู่พัก ชั่วเหวี่ยง
กระด้งตก หรือชั่วเหวี่ยงสากตก (ชื่อว่า อุปจาร).
ในคำว่า อุคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า
ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล
เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ. ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งรัตนะมีมุกดา
เป็นต้นที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่ตนหรือแก่สงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฏ. สิ่งที่
เป็นกัปปิยวัตถุก็ดี เป็นอกัปปิยวัตถุก็ดี อันเป็นของคฤหัสถ์ ชั้นที่สุดแม้ใบ
ตาลเป็นเครื่องประดับหูเป็นของมารดา เมื่อภิกษุรับเก็บโดยมุ่งวัตรแห่งภัณฑา-
คาริกเป็นใหญ่ เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. แต่ถ้าของ ๆ มารดาบิดาเป็นกัปปิย-
ภัณฑ์อันควรที่ภิกษุจะเก็บไว้ได้แน่นอน พึงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์ตน. แต่