เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ 2


133. 2. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ใน
ที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิ-
กรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[741] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ทีชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์
ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย นี้ชื่อว่ารัตนะ.
ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค
ของมวลมนุษย์ นี้ชื่อว่าของที่สมมติว่ารัตนะ.
คำว่า เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี คือ ยกเว้นแต่
ภายในวัดที่อยู่ ภายในที่อยู่พัก.
ที่ชื่อว่า ภายในวัดที่อยู่ คือ สำหรับวัด ที่มีเครื่องล้อม กำหนดภาย
ในวัด สำหรับวัดที่ไม่มีเครื่องล้อม กำหนดอุปจารวัด.

ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่
ภายในที่อยู่พัก สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจารที่อยู่พัก.
บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
[742] คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี .ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ
ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้
นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูปหรือตามนิมิต
เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของ ๆ ผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามาใน
ที่นั้น พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของ ๆ ท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณ
หรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง
เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น
แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่
อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป.
คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดี
ยิ่งในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร


[743] ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ
ว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด
ผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ 1 ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ 1 ภิกษุถือเป็น
ของขอยืม 1 ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสกุล 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ 2 จบ