เมนู

พึงแต่งอาหารถวาย ครั้นต่อมาภิกษุหลายรูป ไปเที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้
เดินผ่านเข้าไปทางโรงงานของอนาถบิณฑิกคหบดี บุรุษนั้นได้แลเห็นภิกษุ
เหล่านั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้
แล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับนิมนต์ฉัน
ภัตตาหารของท่านคหบดีในวันพรุ่งนี้.
ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.
จึงบุรุษนั้น สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น
แล้วให้คนไปบอกภัตกาล แล้วถอดแหวนวางไว้ อังคาสภิกษุเหล่านั้นด้วย
ภัตตาหารแล้วกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าฉันแล้วกลับได้ แม้กระผมก็จักไปสู่
โรงงานดังนี้ ได้ลืมแหวนนั้น ไปแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว ปรึกษากันว่า ถ้าพวกเราไปเสีย แหวน
วงนี้จักหาย แล้วได้อยู่ในที่นั้นเอง.
ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากโรงงาน เห็นภิกษุเหล่านั้นจึงถามว่า เพราะ
เหตุไร พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า ขอรับ.
จึงภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องราวนั้นแก่เขา ครั้นเธอไปถึงพระนคร
สาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.

พระพุทธาานุญาตพิเศษ


ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเอาก็ดี ใช้ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของ
ที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บรักษาไว้ด้วยหมาย
ว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ 2


133. 2. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ใน
ที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิ-
กรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[741] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ทีชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์
ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย นี้ชื่อว่ารัตนะ.
ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค
ของมวลมนุษย์ นี้ชื่อว่าของที่สมมติว่ารัตนะ.
คำว่า เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี คือ ยกเว้นแต่
ภายในวัดที่อยู่ ภายในที่อยู่พัก.
ที่ชื่อว่า ภายในวัดที่อยู่ คือ สำหรับวัด ที่มีเครื่องล้อม กำหนดภาย
ในวัด สำหรับวัดที่ไม่มีเครื่องล้อม กำหนดอุปจารวัด.