เมนู

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 11


เรื่องพระทัพพมัลลบุตร


[723] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราช-
คฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ แต่
ท่านเป็นผู้มีจีวรเก่า สมัยนั้น มีจีวรผืนหนึ่งเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์จึงได้ถวายจีวร
ผืนนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร พวกพระฉัพพัคคีย์พากันเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้ว ภายหลังจึงได้ถึง
ธรรมคือบ่นเล่า...แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่น
จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงธรรมคือ
บนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่.
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. ..

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


130. 11. อนึ่ง ภิกษุใด กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวร
แก่ภิกษุแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของ
สงฆ์ไปตามชอบใจ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[724] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา
เดียวกัน.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้า 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงองค์กำหนด
แห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า ให้ คือ ตนเองก็ให้.
ที่ชื่อว่า ตามชอบใจ คือ ตามความที่เป็นไมตรีกัน ตามความที่
เคยเห็นกัน ตามความที่เคยคบกัน ตามความที่ร่วมอุปัชฌาย์กัน ตามความที่
ร่วมอาจารย์กัน.
ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ คือ ที่เขาถวายแล้ว ที่เขาสละแล้ว แก่สงฆ์.
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช
บริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้าย
ชายผ้า.