เมนู

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือ
ฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ


ภิกษุ โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[702] ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว เงื้อหอก
คือฝ่ามือขึ้น 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

ตลสัตติกสิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นจะประหาร]


สองบทว่า ตลสตฺติกํ อุคฺคิรนฺติ มีความว่า (พวกภิกษุฉัพพัคคีย์)
เมื่อแสดงอาการให้ประหาร ย่อมเงื้อดเงื้อกายบ้าง ของเนื่องด้วยกายบ้าง.
ข้อว่า เต ปหารสมุจฺจิตา โรทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุสัตตร-
สวัคคีย์เหล่านั้น คุ้นเคยต่อการประหารแล้ว สำคัญอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้จักให้
ประหารบัดนี้ เพราะเป็นผู้ได้รับการประหารมาแม้ในกาลก่อน จึงร้องไห้

อาจารย์บางพวกสาธยายว่า ปหารสฺส มุจฺฉิตา ก็มี. ในปาฐะนั้นมีความว่า
กลัวการประหาร.
ในคำว่า อุคฺคิรติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้า
ภิกษุเงื้อพลั้งให้ประหารลงไป เมี่อภิกษุไม่อาจจะยั้งไว้ได้แน่นอนจึงประหาร
ลงไปโดยเร็ว เป็นทุกกฏ เพราะเธอให้ประหาร โดยไม่มีประสงค์จะประหาร.
เพราะการประหารนั้น อวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งมีมือเป็นต้นหักไป ก็เป็นเพียง
ทุกกฏ. ภิกษุผู้ประสงค์จะประหาร แต่การประหารด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีต้นไม้เป็นต้นพลาดเลยไปหรือตนกลับ ได้สติแล้วไม่ประหาร เป็นทุกกฏ. หรือ
เมื่อประหาร ถูกใคร ๆ กันมือไว้ ก็เป็นทุกกฏ.
ในคำว่า โมกฺขาธิปฺปาโย ตลสตฺติกํ อุคฺคิรติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เงื้อหอกคือฝ่ามือโดยนัยก่อนนั่นแหละในเรื่องทั้งหลายที่
กล่าวแล้วข้างต้น. ถ้าแม้นว่าภิกษุให้ประหารผิดพลาดไป ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือน
กัน. คำที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อน
นั้นแล.
ตลสัตติกสิกขาบทที่ 5 จบ

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[703] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เชตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ฉัพพัคคีย์โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆทิเสสไม่มีมูล บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .
ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้โจทภิกษุด้วย
อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า การกระทำของพวกเธอ
นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-