เมนู

ปัญจกทุกกฏ


ภิกษุก่นธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุก่นพระวินัยหรือพระธรรมอย่างอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[688] ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะก่น พูดตามเหตุว่านิมนต์ท่านเรียน
พระสูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียน
พระวินัย ดังนี้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 2 จบ

วิเลขนสิกขาบทที่ 2


ในสิกขาบทที่ 2 วินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยอานิสงส์มีการเรียนวินัยเป็นมูล]


สองบทว่า วินยกถํ กเถติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกถา
อันเกี่ยวเนื่องด้วยกัปปิยะและอกัปปิยะ อาบัติและอนาบัติ สังวร อสังวร
และปหานะ ที่ชื่อว่า วินัยกถา.

คำว่า วินยสฺส วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสการวางมาติกาด้วยอำนาจแห่งอาบัติ 5 กองบ้าง 7 กองบ้าง แล้วทรง
พรรณนาโดยบทภาชนะ ที่ชื่อว่า สรรเสริญพระวินัย.
คำว่า ปริยตฺติยา วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสสรรเสริญ คือ พรรณนาคุณ ได้แก่ อานิสงส์มีการเรียนพระวินัยเป็นมูล
แห่งพวกภิกษุผู้เล่าเรียนพระวินัย. อธิบายว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอานิสงส์ 5 อานิสงส์ 6 อานิสงส์ 7 อานิสงส์ 8 อานิสงส์ 9 อานิสงส์ 10
อานิสงส์ 11 ซึ่งมีการเรียนพระวินัยเป็นมูลทั้งหมด ที่พระวินัยธรจะได้.
ถามว่า พระวินัยธร ย่อมได้อานิสงส์ 5 เหล่าไหน ?
แก้ว่า ย่อมได้อานิสงส์ 5 มีการคุ้มครองสีลขันธ์เป็นต้น ของตน.
สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ใน
วินัยธรบุคคล (บุคคลผู้ทรงวินัย) มี 5 เหล่านี้ คือ สีลขันธ์ของตนเป็นอัน
คุ้มครองรักษาดีแล้ว 1 เป็นที่พึงของพวกภิกษุผู้มักระแวงสงสัย 1 เป็นผู้
แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ 1 ข่มเหล่าชนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดย
สหธรรม 1 เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม. *

[อธิบายอานิสงส์ 5 ว่าด้วยการต้องอาบัติ 6 อย่าง]


สีลขันธ์ของตน เป็นอันวินัยธรบุคคลนั้นคุ้มครอง รักษาดีแล้ว
อย่างไร ? คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติ ย่อมต้องด้วย
อาการ 6 อย่าง คือ ด้วยความไม่ละอาย 1 ด้วยความไม่รู้ 1 ด้วยความ
สงสัยแล้วขืนทำ 1 ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร 1 ด้วยความสำคัญ
ในของควรว่าไม่ควร 1 ด้วยความหลงลืมสติ 1.
* วิ. ปริวาร. 8/453-493.