เมนู

ภิกษุผู้อันอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม ที่
มิได้ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม พูดอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา
ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่
สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร แล้วซ้ำกล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยัง
ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง
วินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ-
ทุกกฏ.
[683] บทว่า ผู้ศึกษาอยู่ คือ ผู้ใคร่จะสำเหนียก.
บทว่า ควรรู้ทั่วถึง คือ ควรทราบไว้.
บทว่า ควรสอบถาม คือ ควรได้ถามดู ว่าสิกขาบทนี้เป็นอย่างไร
สิกขาบทนี้มีเนื้อความเป็นอย่างไร.
บทว่า ควรตริตรอง คือ ควรติด ควรพินิจ.
คำว่า นิเป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่ง
ในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร


[684] ภิกษุกล่าวว่า จักรู้ จักสำเหนียก ดังนี้ 1 ภิกษุวิกลจริต1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาจิตตีย์ สหธรรมิกวรรคที่ 8


สหธรรมิกสิกขาบทที่ 1


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 1 แห่งสหธรรมิกวรรค พึงทราบดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ 1]


สองบทว่า เอตสฺมึ สิกฺขาปเท มีความว่า ข้าพเจ้าจักยังไม่ศึกษา
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสิกขาบทนี้ก่อน.
ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น
อาบัติ ทุก ๆ คำพูด.
ข้อว่า สิกฺขมาเนน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะศึกษารับพระโอวาทด้วยเศียรกล้านั่นแหละ พึงรู้ทั่วถึง พึงได้ถาม และ
พึงใคร่ครวญ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบจากใจความเฉพาะ
บท โดยนัยดังกล่าวแล้วในทุพพัณณกรณสิกขาบทนั่นแล. ว่าโดยวินิจฉัย
ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
สหธรรมิกสิกขาบทที่ 1 จบ