เมนู

ที่ชื่อว่า ชอบธรรม คือ สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติไว้นั่นชื่อว่าชอบธรรม.
ภิกษุผู้อัน ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมนั้น กล่าวอย่างนี้ คือ
กล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้
สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[682] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ-
ปาจิตตีย์.
ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ตมสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติไว้
กล่าวอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความ
กำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไป
เพื่อปรารภความเพียร และซ้ำพูดว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบท
นี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มี
ปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุผู้อันอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม ที่
มิได้ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม พูดอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา
ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่
สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร แล้วซ้ำกล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยัง
ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง
วินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ-
ทุกกฏ.
[683] บทว่า ผู้ศึกษาอยู่ คือ ผู้ใคร่จะสำเหนียก.
บทว่า ควรรู้ทั่วถึง คือ ควรทราบไว้.
บทว่า ควรสอบถาม คือ ควรได้ถามดู ว่าสิกขาบทนี้เป็นอย่างไร
สิกขาบทนี้มีเนื้อความเป็นอย่างไร.
บทว่า ควรตริตรอง คือ ควรติด ควรพินิจ.
คำว่า นิเป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่ง
ในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร


[684] ภิกษุกล่าวว่า จักรู้ จักสำเหนียก ดังนี้ 1 ภิกษุวิกลจริต1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ