เมนู

เมื่อภิกษุนอนแล้ว สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะจึงนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนต่อไปอีก ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[678] สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ
แล้ว เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุมีความสงสัย เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้
อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ
เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ไม่ต้อง
อาบัติ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าผู้ถูกสงฆ์นาสนะ...
ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้สงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ .. .
ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[679] ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ 1 ภิกษุรู้อยู่
ว่าสมณุทเทสยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ 7 จบ

กัณฑกสิกขาบทที่ 10


ในสิกขาบทที่ 10 มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ 10]


สองบทว่า ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ คือ สมณุทเทสแม้นี้ เมื่อถลำลง
ไปโดยไม่แยบคาย ก็เกิดความเห็นผิดขึ้นมา เหมือนอริฎฐภิกษุฉะนั้น.
นาสนะที่ตรัสไว้ในคำว่า นาเสตุ นี้ มี 3 อย่างคือ สังวาสนาสนะ 1
ลิงคนาสนะ 1 ทัณฑกรรมนาสนะ 1. บรรดานาสนะ 3 อย่างนั้น การยกวัตร
ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น ชื่อว่า สังวาสนาสนะ. นาสนะนี้ว่า สามเณร
ผู้ประทุษร้าย (นางภิกษุณี) สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, เธอทั้งหลายพึงให้นาสนะ
เมตติยาภิกษุณีเสีย ชื่อว่า ลิงคนาสนะ. นาสนะนี้ว่า แน่ะอาวุโส สมณุทเทส
เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป
ชื่อว่า ทัณฑกรรมนาสนะ. ทัณฑกรรมนาสนะนี้ ทรงประสงค์เอาในสิกขาบท
นี้ . เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า เอวญฺจ ภิกฺขเว
นาเสตพฺโพ ฯเปฯ จร ปิเร วินสฺส
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า เธอจงหลีกไปเสีย.
บทว่า ปิเร แปลว่า แน่ะเจ้าคนอื่น คือเจ้าผู้มีใช่พวกเรา.
บทว่า วินสฺส ความว่า เจ้าจงฉิบหายเสีย คือ จงไปในที่ซึ่งพวก
เราจะไม่เห็นเจ้า.
บทว่า อุปลาปฺเปยฺย แปลว่า พึงสงเคราะห์.