เมนู

2-3 คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่
มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย อนึ่ง ภิกษุใดรู้
อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูถให้ฉิบหายเสียอย่างนั้น แล้วก็ดี ให้
อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[675] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่า
นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่
[676] คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่สมณุทเทสผู้ที่กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คือ พวกภิกษุผู้
ได้เห็น ผู้ได้ยิน พึงว่ากล่าวว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น
เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโสสมณุทเทส พระผู้มีพระ -
ภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจ
ทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่
สาม ถ้าเธอสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น
อัน ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้-
มีพระภาคเจ้านั้น ว่าเป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทส
อื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง 2-3 คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่
ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้.

[677] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..
นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.
บทว่า ผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้ว คือ ผู้สงฆ์นาสนะอย่าง
นั้นแล้ว .
ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร.
บทว่า เกลี้ยกล่อมก็ดี คือ เกลี้ยกล่อมว่า เราจักให้บาตร จีวร
อุเทศหรือปริปุจฉาแก่เธอ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้อุปัฏฐากก็ดี คือ ยินดี จุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน
หรือน้ำบ้วนปากของเธอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหา
มี 2 อย่าง คือคบหากันในทางอามิส 1 คบหากันในทางธรรม 1.
ที่ชื่อว่า คบหากัน ในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือบอกธรรมให้ หรือขอเรียน
ธรรม.
ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ บท.
ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยอักขระ ต้องอาบัติ-
ปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ.
คำว่า สำเร็จการนอนร่วมก็ดี อธิบายว่า ในที่มุงบังอันเดียวกัน
เมื่อสมณุทเทส ผู้ถูกสงฆ์นาสนะนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อภิกษุนอนแล้ว สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะจึงนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนต่อไปอีก ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[678] สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ
แล้ว เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุมีความสงสัย เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้
อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ
เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ไม่ต้อง
อาบัติ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าผู้ถูกสงฆ์นาสนะ...
ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมณุทเทสไม่ใช่ผู้สงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ .. .
ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[679] ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ 1 ภิกษุรู้อยู่
ว่าสมณุทเทสยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ 7 จบ