เมนู

ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดประกาศห้ามแล้ว เพื่อสละทิฏฐิ
นั้นชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

บทภาชนีย์


[666] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ. จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้อง
อาบัติทุกกฏ 2 ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์


[667] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอม
สละต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ
ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[668] ภิกษุผู้ไม่สวดประกาศห้าม 1 ภิกษุผู้ยอมสละ 1 ภิกษุวิกล -
จริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติเเล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

อริฏฐสิกขาบทที่ 8


ในสิกขาบทที่ 8 มีวินิจฉัยดังนี้:-
พวกชนที่ชื่อว่า พรานแร้ง เพราะอรรถว่า ได้ฆ่าแร้งทั้งหลาย.
พระอริฏฐะชื่อว่า ผู้เคยเป็นพรานแร้งเพราะอรรถว่า ท่านมีบรรพบุรุษเป็น
พรานแร้ง. ได้ความว่า เป็นบุตรของตระกูลเคยเป็นพรานแร้ง คือ เกิดจาก
ตระกูลพรานแร้งนั้น.

[ว่าด้วยธรรมกระทำอันตรายแก่ผู้เสพ]


ธรรมเหล่าใด ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน; เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อันตรายิกธรรม. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี 5 อย่าง
ด้วยอำนาจ กรรม กิเลส วิบาก อุปวาท และอาณาวีติกกมะ. บรรดา
อันตรายิกธรรมมีกรรมเป็นต้นนั้น ธรรมคือ อนันตริยกรรม 5 อย่าง ชื่อว่า
อันตรายิกธรรม คือ กรรม. ภิกขุนีทูสกกรรม ก็อย่างนั้น. แต่ภิกขุนีทูสก-
กรรมนั้น ย่อมทำอันตรายแก่พระนิพพานเท่านั้น หาทำอันตรายแก่สวรรค์ไม่.
ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ กิเลส. ธรรมคือ
ปฏิสนธิของพวกบัณเฑาะก์ ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิก-
ธรรมคือวิบาก. การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ
อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้
พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษเท่านั้น, หลังจากให้ท่านอดโทษไป หาเป็นอัน-
ตรายไม่. อาบัติที่แกล้งต้อง ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. อาบัติ
แม้เหล่านั้น ก็เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุผู้ต้องยังปฏิญญาความเป็นภิกษุ