เมนู

อนาปัตติวาร


[657] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป 1 คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุมิได้
ชักชวน 1 ไปผิดวันผิดเวลา 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

เถยยสัตตถสิกขาบทที่ 6


ในสิกขาบทที่ 6 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการเดินทางร่วมพวกพ่อค้าเกวียนผู้เป็นขโมย]


บทว่า ปฏิยาโลกํ ความว่า ตรงหน้าแสงอาทิตย์ คือ ทิศทะวันตก.
บทว่า กมฺมิกา ได้แก่ เจ้าพนักงานที่ด่านศุลกากร.
ข้อว่า ราชานํ วา เถยฺยํ คจฺฉนฺติ มีความว่า พวกโจรขโมย
ของหลวง คือหลอกลวงลักเอาของหลวงบางอย่างไปด้วยตั้งใจว่า คราวนี้เราจัก
ไม่ถวายหลวง.
บทว่า วิสงฺเกเตน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปผิดเวลา
นัดหมาย และผิดวันนัดหมาย. แต่ไปผิดทางที่นัดหมาย หรือผิดดังที่นัดหมาย
เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว
แล้วในภิกขุนีวรรค.
สิกขาบทนี้ มีพวกพ่อค้าเกวียนพ่อค้าต่างผู้เป็นโจรเป็นสมุฎฐานเกิด
ขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
เถยยสัตถสิกขาบทที่ 6 จบ

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 7


เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[658] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
รูปหนึ่งกำลังเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศลชนบท เดินทางไปทางประตู
บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งทะเลาะกับสามีแล้วเดินออกจากบ้านไป พบภิกษุ
รูปนั้นแล้วได้ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปไหน เจ้าข้า.
ภิกษุนั้นตอบว่า ฉันจักไปสู่พระนครสาวัตถี จ้ะ.
สตรีนั้นขอร้องว่า ดิฉันจักไปกับพระคุณเจ้าด้วย.
ภิกษุนั้นกล่าวรับรองว่า ไปเถิด จ้ะ.
ขณะนั้น สามีของสตรีนั้นออกจากบ้านแล้ว ถามคนทั้งหลายว่า
พวกท่านเห็นสตรีมีรูปร่างอย่างนี้บ้างไหม.
คนทั้งหลายตอบว่า สตรีมีรูปร่างเช่นว่านั้นเดินไปกับพระ.
ในทันที เขาได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นทุบตีแล้วปล่อยไป ภิกษุนั้นนั่ง
พ้อตนเองอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.
จึงสตรีนั้น ได้กล่าวกะบุรุษผู้สามีว่า นาย พระรูปนั้นมิได้พาดิฉันไป
ดิฉันต่างหากไปกับท่าน พระรูปนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ นายจงไปขอขมาโทษ
ท่านเสีย.
บุรุษนั้นได้ขอขมาโทษภิกษุนั้น ในทันใดนั้นแล.
ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามเล่า . . .