เมนู

บทว่า กับ คือร่วมกัน.
บทว่า ชักชวนแล้ว ความว่า ชักชวนกันว่า ท่านทั้งหลาย พวกเรา
ไปกันเถิด ไปซิขอรับ จงไปกันเถิดขอรับ ไปซิ ท่านทั้งหลาย พวกเราไป
กันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ
บทว่า โดยที่สุดแม้สั้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน
กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์.

บทภาชนีย์


[656] พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าพวกเกวียนพวก
ต่างผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ
บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ชักชวนแล้วเดิน
ทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่พวกเกวียนพวกต่าง
ผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง
ไม่ต้องอาบัติ.
ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายมิได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า พวกเกวียนพวกต่าง
ผู้เป็นโจร... ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า มิใช่พวกเกวียน
พวกต่างผู้เป็นโจร . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[657] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป 1 คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุมิได้
ชักชวน 1 ไปผิดวันผิดเวลา 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

เถยยสัตตถสิกขาบทที่ 6


ในสิกขาบทที่ 6 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการเดินทางร่วมพวกพ่อค้าเกวียนผู้เป็นขโมย]


บทว่า ปฏิยาโลกํ ความว่า ตรงหน้าแสงอาทิตย์ คือ ทิศทะวันตก.
บทว่า กมฺมิกา ได้แก่ เจ้าพนักงานที่ด่านศุลกากร.
ข้อว่า ราชานํ วา เถยฺยํ คจฺฉนฺติ มีความว่า พวกโจรขโมย
ของหลวง คือหลอกลวงลักเอาของหลวงบางอย่างไปด้วยตั้งใจว่า คราวนี้เราจัก
ไม่ถวายหลวง.
บทว่า วิสงฺเกเตน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปผิดเวลา
นัดหมาย และผิดวันนัดหมาย. แต่ไปผิดทางที่นัดหมาย หรือผิดดังที่นัดหมาย
เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว
แล้วในภิกขุนีวรรค.
สิกขาบทนี้ มีพวกพ่อค้าเกวียนพ่อค้าต่างผู้เป็นโจรเป็นสมุฎฐานเกิด
ขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
เถยยสัตถสิกขาบทที่ 6 จบ