เมนู

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[658] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
พ่อค้าเกวียนต่างหมู่หนึ่งประสงค์จะเดินทาง จากพระนครราชคฤห์ ไปสู่ชนบท
ทางทิศทะวันตก ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวกะพ่อค้าพวกนั้นว่า แม้อาตมาจักขอ
เดินทางไปร่วมกับพวกท่าน.
พวกพ่อค้าเกวียนต่างกล่าวว่า พวกกระผมจักหลบหนีภาษีขอรับ.
ภิกษุนั้น พูดว่า ท่านทั้งหลายจงรู้กันเองเถิด.
เจ้าพนักงานศุลกากรทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พวกพ่อค้าเกวียนต่างจัก
หลบหนีภาษี จึงคอยซุ่มอยู่ที่หนทาง ครั้นพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นจับพ่อค้า-
เกวียนต่างหมู่นั้น ริบของต้องห้ามไว้ได้แล้ว ได้กล่าวกะภิกษุพวกนั้นว่า
พระคุณเจ้ารู้อยู่ เหตุไรจึงได้เดินทางร่วมกับพ่อค้าเกวียนต่างผู้ลักซ่อนของ
ต้องห้ามเล่า เจ้าหน้าที่ไต่สวนแล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุรูปนั้นไปถึง
พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้
มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้
ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจรเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า
เธอรู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร
จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่
จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็น
โจรเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


115. 6. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางไกล
สายเดียวกัน กับพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สั้นระยะ
บ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[655] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.
ที่ชื่อว่า พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ได้แก่ พวกโจรผู้ทำ
โจรกรรมมาก็ดี ไม่ได้ทำมาก็ดี ผู้ที่ลักของหลวงก็ดี ผู้ที่หลบซ่อนของเสียภาษี
ก็ดี.