เมนู

อนาปัตติวาร


[647] ภิกษุติดเห็นว่าความบาดหมางก็ดี ความทะเลาะก็ดี ความ
แก่งแย่งก็ดี การวิวาทก็ดี จักมีแก่สงฆ์ แล้วไม่บอก 1 ไม่บอกด้วยคิดเห็น
ว่าสงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน 1 ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่าภิกษุรูปนี้
เป็นผู้โหดร้ายหยาบคาย จักทำอันตรายชีวิต หรืออันตรายพรหมจรรย์ 1
ไม่พบภิกษุอื่นที่สมควรจึงไม่บอก 1 ไม่ตั้งใจจะปิดแต่ยังไม่ได้บอก 1 ไม่บอก
ด้วยคิดเห็นว่าจักปรากฎเอง ด้วยการกระทำของตน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ 4


ในสิกขาบทที่ 4 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ]


ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงปาราชิก 4 ไว้ ด้วยอำนาจแห่งการทรงขยายความ, แต่ทรงประสงค์
อาบัติสังฆาทิเสส. เมื่อภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสนั้น เป็นปาจิตตีย์.
สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ เมื่อสักว่าทอดธุระเสร็จ. ถ้า
แม้นทอดธุระแล้ว บอกในภายหลัง, รักษาไม่ได้. มีคำอธิบายว่า พอทอด
ธุระเสร็จเท่านั้น ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ถ้าว่า ภิกษุทอดธุระแล้วอย่างนั้น บอก
แก่ภิกษุอื่นเพื่อปกปิดไว้นั่นเอง, แม้ภิกษุผู้รับบอกนั้นเล่า ก็บอกแก่ภิกษุอื่น

โดยอุบายดังกล่าวมานี้ สมณะทั้งร้อยก็ดี สมณะตั้งพันก็ดี ย่อมต้องอาบัติทั้งนั้น
ตราบเท่าที่สุดยังไม่ขาดลง.
ถามว่า ที่สุดจะขาดเมื่อไร ?
ตอบว่า ท่านมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุต้องอาบัติ แล้วบอก
แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้รับบอกนั้น กลับมาบอกแก่เธอผู้ต้องอาบัตินั้น อีก,
ที่สุดย่อมขาดลงอย่างนี้. ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เพราะว่า ภิกษุนี้
เป็นวัตถุบุคคลทีเดียว. (บุคคลผู้ต้องอาบัติ) แต่ต้องอาบัติแล้วก็บอกแก่ภิกษุ.
รูปหนึ่ง, ภิกษุรูปที่ 2 นี้ก็บอกแก่ภิกษุรูปต่อไป, ภิกษุรูปที่ 3 นั้น กลับมา
บอกเรื่องที่ภิกษุรูปที่ 2 บอกเธอแก่ภิกษุรูปที่ 2 นั้นแล, เมื่อบุคคลที่ 3 กลับ
มาบอกแก่บุคคลที่ 2 อย่างนี้ ที่สุดย่อมขาดตอนลง.
สองบทว่า อทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ ได้แก่ อาบัติ 5 กองที่เหลือ.
อัชฌาจารนี้ คือ สุกกวิสัฏฐิ และกายสังสัคคะ ชื่อว่าว่าอัชฌาจาร
อันชั่วหยาบสำหรับอนุปสัมบัน ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺลํ วา
อทุฏฺฐุลฺลํ วา อชฺฌาจารํ
นี้. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจากับจิต
เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
ทุกขเวทนา ดังนี้แล.
ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ 4 จบ

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 5


เรื่องเด็กชายอุบาลี


[648] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีเด็กชายพวกหนึ่ง 17 คน เป็นเพื่อนกัน
เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย
อุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้า
อุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้า
อุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป
เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีกว่า ถึงเจ้า
อุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วย
วิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้อง
ลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณ เขาจัก
หนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสอง
ล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกัน
อีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสองของเขาจักชอกช้ำ
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีความสุขเป็นปกติ มีความ
ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี
จะพึงได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ
เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก.