เมนู

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่น ๆ บอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.
ที่ชื่อว่า อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก 4 และอาบัติ
สังฆาทิเสส 13.
บทว่า ปิด ความว่า เมื่อภิกษุติดเห็นว่า คนทั้งหลายรู้อาบัตินี้แล้ว
จักโจท จักบังคับให้ ให้การ จักด่าว่า จักติเตียน จักทำให้เก้อ เราจักไม่
บอกละ ดังนี้ พอทอดธุระเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[646] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ภิกษุปิดอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุปิดอัชฌาจารอันชั่วหยาบก็ดี ไม่ชั่วหยาบก็ดี ของอนุปสัมบัน
ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[647] ภิกษุติดเห็นว่าความบาดหมางก็ดี ความทะเลาะก็ดี ความ
แก่งแย่งก็ดี การวิวาทก็ดี จักมีแก่สงฆ์ แล้วไม่บอก 1 ไม่บอกด้วยคิดเห็น
ว่าสงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน 1 ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่าภิกษุรูปนี้
เป็นผู้โหดร้ายหยาบคาย จักทำอันตรายชีวิต หรืออันตรายพรหมจรรย์ 1
ไม่พบภิกษุอื่นที่สมควรจึงไม่บอก 1 ไม่ตั้งใจจะปิดแต่ยังไม่ได้บอก 1 ไม่บอก
ด้วยคิดเห็นว่าจักปรากฎเอง ด้วยการกระทำของตน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ 4


ในสิกขาบทที่ 4 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ]


ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงปาราชิก 4 ไว้ ด้วยอำนาจแห่งการทรงขยายความ, แต่ทรงประสงค์
อาบัติสังฆาทิเสส. เมื่อภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสนั้น เป็นปาจิตตีย์.
สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ เมื่อสักว่าทอดธุระเสร็จ. ถ้า
แม้นทอดธุระแล้ว บอกในภายหลัง, รักษาไม่ได้. มีคำอธิบายว่า พอทอด
ธุระเสร็จเท่านั้น ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ถ้าว่า ภิกษุทอดธุระแล้วอย่างนั้น บอก
แก่ภิกษุอื่นเพื่อปกปิดไว้นั่นเอง, แม้ภิกษุผู้รับบอกนั้นเล่า ก็บอกแก่ภิกษุอื่น