เมนู

บทภาชนีย์


[642] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้องอาบัติ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้อง
อาบัติ.

อนาปัตติวาร


[643] ภิกษุรู้อยู่ว่า ทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม โดยเป็นวรรค หรือ
ทำแก่บุคคลผู้ไม่ควรแก่กรรม ดังนี้ ฟื้น 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อุกโกฏนสิกขาบทที่ 3


ในสิกขาบทที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม]


บทว่า อุกฺโกเฏนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยังสำนักของ
ภิกษุนั้น ๆ แล้ว พูดคำโยกโย้ไปมามีอาทิว่า กรรมไม่เป็นอันทำ คือ ไม่ให้
การยืนยันโดยความเป็นเรื่องควรยืนยัน.

บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า โดยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพื่อเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ใดเล่า.
บทว่า นีหตาธิกรณํ คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยแล้ว อธิบายว่า
อธิกรณ์ซึ่งสงฆ์ระงับแล้วโดยธรรมที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละ.
สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมมสญฺญี มีความว่า อธิกรณ์นั้น
สงฆ์ระงับแล้วด้วยกรรมใด, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. แม้ภิกษุนี้ก็
เป็นผู้มีความสำคัญในกรรมที่เป็นธรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ถ้ารื้อฟื้น
อธิกรณ์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แม้บทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.
นี้เป็นความย่อในสิกขาบทนี้ . ส่วนความพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า การรื้ออธิกรณ์ 4 นี้ มีเท่าไร ? ดังนี้ .
พระอรรถกถาจารย์นำถ้อยคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนั้น ทั้งหมดมา
แล้วพรรณนาอรรถแห่งคำนั้นนั่นแลไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย แต่พวกเราจะ
พรรณนาคำนั้นในคัมภีร์ปริวารนั่นแหละ. เพราะเมื่อเราจะนำมาพรรณนาใน
สิกขาบทนี้ จะพึงฟั่นเฝือยิ่งขึ้น; ฉะนั้น พวกเราจึงไม่ได้พรรณนาคำนั้น.
บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล
อุกโกฏนสิกขาบทที่ 3 จบ

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


[644] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว บอกแก่ภิกษุ
สัทธิวิหาริกของภิกษุผู้พี่น้องกันว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฎฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใคร ๆ เลย ครั้นต่อมาภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ขอปริวาสเพื่อาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่เธอแล้ว เธอกำลังอยู่ปริวาสอยู่ พบภิกษุรูปนั้นแล้ว
ได้บอกภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ได้
ขอปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อาบัตินั้นแก่ผมแล้ว
ผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ผมขอบอกให้ทราบ ขอท่านจงจำผมว่าบอกให้ทราบ
ดังนี้.
ภิกษุนั้นถามว่า อาวุโส แม้ภิกษุรูปอื่นใด ต้องอาบัตินี้ แม้ภิกษุนั้น
ก็ทำอย่างนี้หรือ.
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสตอบว่า ทำอย่างนี้ อาวุโส.
ภิกษุนั้นพูดว่า อาวุโส ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ต้องอาบัติชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ท่านได้บอกแก่ผมว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใครเลย.
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสถามว่า อาวุโส ก็ท่านปกปิดอาบัตินั้นหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า เป็นเช่นนั้น ขอรับ.