เมนู

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม
ใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


110. 1. อนึ่ง ภิกษุใด เเกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุทายีจบ

สิกขาบทวิภังค์


[632] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บุทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ ตั้งใจ พยายาม ละเมิด.
ทีชื่อว่า สัตว์ ตรัสหมายสัตว์ดิรัจฉาน.
บทว่า พราก. . .จากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นทอน ซึ่งอินทรีย์
มีชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[633] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.

สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้อง
อาบัติ.
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต . ..ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[634] ภิกษุไม่แกล้งพราก 1 ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ 1 ภิกษุ ไม่รู้ 1
ภิกษุไม่ประสงค์ จะให้ตาย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาจิตตีย์ สัปปาณวรรค * ที่ 7


สัญจิจจปาน สิกขาบทที่ 1


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 1 แห่งสัปปาณวรรคดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปาฐะเรื่องการแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต]


สองบทว่า อิสฺสาโส โหติ ความว่า เคยเป็นอาจารย์ของพวก
นายขมังธนูในคราวเป็นคฤหัสถ์
สองบทว่า ชีวิตา โวโรปิตา ได้แก่ พรากเสียจากชีวิต. แม้ใน
สิกขาบท คำว่า โวโรเปยฺย ก็แปลว่า พึงพรากเสีย. ก็เพราะคำว่า โวโร-
เปยฺย
นั่น เป็นเพียงโวหารเท่านั้น, เพราะว่า เมื่อสัตว์ถูกพรากจากชีวิต
* บาลีเป็น สัปปาณกวรรค.