เมนู

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 9


เรื่องพระอุปนันทศายบุตร


[623] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตร วิกัปจีวรเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกัน แล้วใช้
สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน ครั้นแล้วภิกษุนั้นเล่าเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายว่า
อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ วิกัปจีวรเองแก่ผมแล้วใช้สอย
จีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้
ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอวิกัป
จีวรเองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอวิกัป
จีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า การกระทำ
ของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


108. 9. อนึ่ง ภิกษุใดวิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี
สิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี สามเณรีก็ดี แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่ง
ไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[624] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ 2 ฝ่าย.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วใน
ธรรม 6 ประการตลอด 2 ปี.
ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท 10.
ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท 10.
บทว่า เอง คือ วิกัปด้วยตน.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
ที่ชื่อว่า วิกัป (โดยใจความก็คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ) มี 2
อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า 1 วิกัปลับหลัง 1.
ที่ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า คือกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน
หรือว่าข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกผู้มีชื่อนี้.