เมนู

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้


[615] สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปกำลังช่วยกัน ทำจีวรกรรมอยู่ในที่
แจ้งถูกต้องลมผสมธุลี ทั้งฝนก็ตกถูกต้องประปราย ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ
ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายโสมม ร่างกายที่โสมมนั้นย่อมประทุษร้าย
ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาต ยัง
หย่อนกึ่งเดือน อานน้ำได้.
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ 5


106. 7. จ. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น
ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน
เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว
กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล
คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[606] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ... นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังหย่อนกึ่งเดือน คือ ยังไม่ถึงครึ่งเดือน.
บทว่า อาบน้ำ ได้แก่ อาบน้ำด้วยจุรณหรือดินเหนียว เป็นทุกกฏ
ในประโยค เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่มีสมัย.
ที่ชื่อว่า คราวร้อน คือ เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน.
ที่ชื่อว่า คราวกระวนกระวาย คือ เดือนต้นแห่งฤดูฝน ภิกษุอาบ
น้ำได้ เพราะถือว่าสองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย.
ที่ชื่อว่า คราวเจ็บไข้ คือ เว้นอาบน้ำ ย่อมไม่สบาย ภิกษุอาบ
น้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวเจ็บไข้.
ที่ชื่อว่า คราวทำการงาน คือ โดยที่สุดแม้กวาดบริเวณ ภิกษุ
อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวทำการงาน.
ที่ชื่อว่า คราวไปทางไกล คือ ภิกษุตั้งใจว่า จักเดินทางกึ่งโยชน์
อาบน้ำได้ คือ ตอนจะไปอาบน้ำได้ ไปถึงแล้วก็อาบน้ำได้.
ที่ชื่อว่า คราวฝนมากับพายุ คือ ภิกษุทั้งหลายถูกต้องลมผสมธุลี
หยาดฝนตกถูกต้องกาย 2-3 หยาด อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวฝนมากับ
พายุ.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์

[617] หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.