เมนู

อนาทริยสิกขาบทที่ 4


ในสิกขาบทที่ 4 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม]


คำว่า กถายํ นสฺเสยฺย มีความว่า ไฉน ธรรม คือแบบแผน
ประเพณีนี้ จะพึงเสื่อมไปเสีย.
คำว่า ตํ วา น สิกฺขิตุกาโม มีความว่า ผู้ไม่ประสงค์จะศึกษา
พระบัญญัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้พวกภิกษุเรียก
(เธอว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).
บทว่า อปฺปญฺญตฺเตน คือ ไม่ได้มาในพระสูตร หรือในพระ-
อภิธรรม.
ในคำว่า เอวํ อมฺหากํ อาจริยานํ อุคฺคโห นี้ ไม่ควรถือเอา
การเรียนของอาจารย์ที่น่าติเตียน. ควรถือเอาการเรียนของอาจารย์ที่มาตาม
ประเพณีเท่านั้น. ในกุรุนที กล่าวว่า การเรียนตามอาจารย์ในทางโลกวัชชะ
ไม่ควร, แต่ในทางปัณณัตติวัชชะ ควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า การเรียน
ของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร และสุตตานุโลมเท่านั้น จัดเป็นประมาณได้, ถ้อย
คำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้ (สูตรและสุตตานุโลม) หาเป็นประมาณได้ไม่. คำ
ทั้งหมดนั้น ก็รวมลงในการเรียนที่มาตามประเพณี. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล.
อนาทริยสิกขาบทที่ 4 จบ

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 5


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[598] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ฉัพพัคคีย์หลอนพระสัตตรสวัคคีย์ พวกเธอถูกหลอนจึงร้องไห้.
ภิกษุทั้งหลายถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่าน
ร้องไห้ทำไม.
พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า พระฉัพพัคคีย์พวกนี้หลอนพวกผมขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีตระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอหลอนภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชมที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้
ว่าดังนี้:-