เมนู

อุยโยธิก สิกขาบทที่ 10


ในสิกขาบทที่ 10 มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ]


ชนทั้งหลายยกพวกไปรบกัน ณ ที่นี้ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า
สนามรบ. คำว่า อุยโยธิกะ นี้ เป็นชื่อแห่งที่สัมประหารกัน (ยุทธภูมิ
หรือสมรภูมิ).
พวกชนย่อมรู้จักที่พักของพลรบ ณ ที่นี้ ฉะนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า ที่พัก
พล.
ได้ความว่าสถานที่ตรวจพล.
การจัดขบวนทัพ ชื่อว่า เสนาพยูหะ. คำว่า เสนาพยูหะ นี้
เป็นชื่อแห่งการจัดขบวนทัพ.
ข้อว่า กองทัพช้างอย่างต่ำมีช้าง 3 เชือก นั้น ได้แก่ ช้าง 3 เชือก
รวมกับช้างเชือกที่มีทหารประจำ 12 คน ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น . แม้ในบท
ที่เหลือก็นัยนี้นั่นแล. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอุยยุตตสิกขาบทนั้นแล.
อุยโยธิกสิกขาบทที่ 10 จบ
อเจลกวรรคที่ 5 จบบริบูรณ์ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง


1. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยแจกขนมแก่นักบวช
2. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยบอกให้กลับ
3. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยนั่งแทรกแซง
4. ปฐมานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง
5. ทุติยานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ
6. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น
7. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย.
8. อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยไปดูกองทัพ
9. เสนาวาลสิขาบท ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ
10. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยไปสู่สนามรบ