เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[554] ภิกษุฉันในสมัย 1 ภิกษุบอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วจึงเข้าไป 1
ไม่ได้บอกลาภิกษุซึ่งไม่มีอยู่ แล้วเข้าไป 1 เดินทางผ่านเรือนผู้อื่น 1 เดิน
ทางผ่านอุปจารเรือน 1 ไปอารามอื่น 1 ไปสู่สำนักภิกษุณี 1 ไปสู่สำนัก
เดียรถีย์ 1 ไปโรงฉัน 1 ไปเรือนที่เขานิมนต์ฉัน 1 ไปเพราะมีอันตราย 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

จาริตสิกขาบทที่ 6


ในสิกขาบทที่ 6 มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ]


ในคำว่า เทถาวุโส ภตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยว่า ได้ยินว่า ภัตนั้น เป็น
ของที่พวกชาวบ้านน้อมนำมาแล้ว; เพราะเหตุนั้น พวกภิกษุจึงได้กล่าวอย่าง
นั้น . แต่ในภัตตาหาร ที่พวกชาวบ้านมิได้น้อมนำมา ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อที่จะ
กล่าวอย่างนั้น (กล่าวว่า ให้ภัตตาหารเถิด อาวุโส) เป็นปยุตตวาจา (การ
ออกปากขอของ).
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก
เธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้ ดังนี้ เพื่อต้องการรักษาศรัทธาของตระกูล. ก็

ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสว่า พวกเธอแบ่งกันฉันเถิด, พวกชาว-
บ้านจะพึงคลายความเลื่อมใส.
บทว่า อุสฺสาทยิตฺถ แปลว่า ได้ถูกนำกลับคืนไป. มีคำอธิบายว่า
พวกชาวบ้านได้นำขาทนียะนั้นกลับไปยังเรือนอย่างเดิม.
ในคำว่า สนฺตํ ภีกฺขุํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุชื่อว่ามีอยู่ด้วย
เหตุมีประมาณเท่าไร ? ชื่อว่า ไม่มี ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? คือ ภิกษุ
ผู้อยู่ในสถานแห่งใดภายในวิหาร เกิดมีความคิดว่า จะเข้าไปเยี่ยมตระกูล,
จำเติมแต่นั้น เห็นภิกษุใดที่ข้าง ๆ หรือตรงหน้า หรือภิกษุใดที่ตนอาจจะบอก
ด้วยคำพูดตามปกติได้, ภิกษุนี้ชื่อว่า มีอยู่. แต่ไม่มีกิจที่จะต้องเที่ยวไปบอก
ลาทางโน้นและทางนี้. จริงอยู่ ภิกษุที่ตนต้องเที่ยวหาบอกลาอย่างนี้ ชื่อว่า
ไม่มีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไปด้วยทำในใจว่า เราพบภิกษุภายในอุปจาร-
สีมาแล้วจักบอกลา พึงบอกลาภิกษุที่ตนเห็นภายในอุปจารสีมานั้น ถ้าไม่พบ
ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มี.
บทว่า อนฺตรารามํ ได้แก่ ไปสู่วิหารที่มีอยู่ในภายในบ้าน.
บทว่า ภตฺติยฆรํ ได้แก่ เรือนที่เขานิมนต์ หรือเรือนของพวก
ชาวบ้านผู้ถวายสลากภัตเป็นต้น.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์
จะไปก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา
1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปันณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล
จาริตสิกขาบทที่ 6 จบ

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ 7


เรื่องมหานามศากยะ


[555] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ
นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น มหานามศากยะมี
เภสัชมากมาย จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัย
เภสัชตลอด 4 เดือน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอด 8 เดือนเถิด.
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ
ปวารณาด้วยปัจจัย 4 ตลอด 4 เดือน.
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะ จึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่น
แหละ.
แม้ครั้งที่สอง มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ
ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก 4 เดือน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก 4 เดือนเถิด.