เมนู

สโภชนสิกขาบทที่ 3


ในสิกขาบทที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติแห่งสิกขาบท]


บทว่า สยนีฆเร แปลว่า ในเรือนนอน.
คำว่า ยโต อยฺยสฺส ภิกฺขา ทินฺนา แปลว่า เพราะข้าพเจ้าได้
ถวายภิกษาแล้ว. อธิบายว่า สิ่งใดอันผู้มาแล้วพึงได้, ท่านได้สิ่งนั้นแล้ว,
นิมนต์ท่านกลับไปเถิด,
บทว่า ปริยฏฺฐิโต คือ เป็นผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว, ความว่า มี
ความประสงค์ในเมถุน.
บทว่า สโภชเน ได้แก่ สกุลที่เป็นไปกับด้วยคน 2 คน ชื่อว่า
สโภชนะ. ในสกุลมีคน 2 คนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สโภชเน คือ
ในสกุลมีโภคะ. เพราะว่า สตรีเป็นโภคะของบุรุษ ผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว
และบุรุษก็เป็นโภคะของสตรี (ผู้กลัดกลุ้มด้วยราคะ), ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
ในบทภาชนะแห่งบทว่า สโภชเน นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มีสตรี
กับบุรุษ เป็นต้น.
สองบทว่า มหลฺลเก ฆเร คือ ในเรือนนอนหลังใหญ่.
สามบทว่า ปิฏฺฐิสงฆาฏสฺส หตฺถปาสํ วิชหิตฺวา มีความว่า
ละหัตถบาสแห่งบานประตูห้องในเรือนนอนนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ภายในที่
นอน. ก็เรือนนอนเช่นนี้ มีในศาลา 4 มุขเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงการล้ำท่ามกลางด้วยคำนี้ว่า ปิฏฺฐิวํสํ อติกฺกมิตฺวา. เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบอาบัติ เพราะล้ำท่ามกลางแห่งเรือนนอนหลังเล็ก
ที่เขาสร้างไว้ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุสลจิต มีเวทนา 2 ดังนี้แล.
สโภชนสิกขาบทที่ 3 จบ