เมนู

บทว่า ยังเขาให้ถวายแล้ว. . . แก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม
หรือข้าวสวย ของเคี้ยว หรือของฉัน.
บทว่า ไม่ให้ถวายแล้ว คือ ไม่ให้เขาถวายอะไร ๆ สักอย่าง.
บทว่า ส่งไป ความว่า ปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะเล่น
ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ ปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม พูดอย่างนั้น
ว่ากลับไปเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุก
การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ดังนี้ ให้กลับ ต้อง
อาบัติทุกกฏ เมื่อเธอจะละอุปจารแห่งการเห็น หรืออุปจารแห่งการฟัง ต้อง
อาบัติทุกกฏ เมื่อละแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่
อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นเพื่อจะส่งไป.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[533] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกทุกกฏ


ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อานาปัตติวาร


[534] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า เรา 2 รูปรวมกันจักไม่พอฉัน 1
ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้
เกิด 1 ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัด
ให้เกิด 1 ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้มหรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือ
ของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร 1
ภิกษุไม่ประสงค์จะพระพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็น จึงส่งกลับไป 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ 2 จบ

อุยโยชน สิกขาบทที่ 2


ในสิกขาบทที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติของสิกขาบท]


บทว่า ปฏิกฺกมเนปิ แปลว่า แม้ในโรงฉัน.
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.
บทว่า น สมฺภาเวสิ แปลว่า ไม่ทันเวลา.
บทว่า อนาจารํ ได้แก่ การละเมิดทางกายทวารและวจีทวาร อัน
เหลือจากอนาจารที่กล่าวแล้ว .
ในคำว่า ทสฺสนูปจารํ วา สวนูปจารํ วา วิชหนฺตสฺส นี้
มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุยืน หรือนั่งขับไล่, ภิกษุใดถูกขับไล่, ภิกษุนั้นกำลังละ
อุปจารไป, และชื่อว่า อาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้น, แต่เมื่อภิกษุผู้ถูกขับไล่ไปนั้น