เมนู

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


[531] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวชวนภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า
มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวาย
อะไรแก่เธอ ซ้ำส่งกลับด้วยบอกว่า กลับเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี
ของเรากับคุณไม่นำความสำราญมาให้ การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว
ย่อมจะสำราญ ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถเที่ยวหา
บิณฑบาตฉันได้ แม้จะไปฉันที่โรงฉันก็ไม่ทันกาล จำต้องอดภัตตาหาร ครั้น
เธอไปถึงอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่าน
อุปนันทศากยบุตรกล่าวชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อ
บิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉนจึงสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับ
อีกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อน
อุปนันทะ ข่าวว่า เธอชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต
ด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีก จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกล่าว
ชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉน
จึงได้สั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีกเล่า การกระทำของเธอนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


91. 2. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านจงมา
เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน เธอยังเขาให้ถวายแล้ว
ก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปเถิด
การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นเผาสุกเลย การพูดก็ดี
การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำความหมายอย่างนี้
เท่านั่งแลให้เป็นปัจจัย ทำใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[532] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ต่อภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น
คำว่า ท่านจงมา. . .สู่บ้าน หรือสู่นิคม ความว่า บ้านก็ดี นิคม
ก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าบ้านและนิคม.