เมนู

ที่ชื่อว่า ของกิน ได้แก่ โภชนะ 5 อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด
ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.
บทว่า ให้ คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วย
โยนให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[529] เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี
ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี ด้วยมือของตน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี
ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ


ให้น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[530] ภิกษุสั่งให้ให้ ไม่ให้เอง 1 วางให้ 1 ให้ของไล้ทาภายนอก 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาจิตตีย์ อเจลกวรรคที่ 5


อเจลกสิกขาบทที่ 1


ในสิกขาบทที่ 1 แห่งอเจลกวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก่อรรถ เรื่องให้ของกินแก่นักบวชนอกศาสนา]


บทว่า ปริเวสนํ แปลว่า สถานที่อังคาส.
บทว่า ปริพฺพาชกสมาปนฺโน คือ ผู้เข้าถึงการบวช.
สามบทว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ภิกษุให้ข้าวต้ม
และข้าวสวย พออิ่มด้วยประโยคเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว, ให้ขาดเป็น
ระยะ ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค. แม้ในขนมและข้าวสวยเป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน
สองบทว่า ติตฺถิเย ติตถิยสญฺญี มีความว่า มารดาก็ดี บิดาก็ดี
(ของภิกษุ) บวชในหมู่เดียรถีย์. แม้ภิกษุ (ผู้บุตร) เมื่อให้แก่เดียรถีย์เหล่านั้น
ด้วยสำคัญว่ามารดาและบิดา เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน
บทว่า ทาเปติ คือ สั่งให้อนุปสัมบันให้.
สองบทว่า อุปนิกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า วางบนภาชนะเห็น
ปานนั้นแล้ว วางภาชนะนั้นให้บนพื้นดิน ใกล้เดียรถีย์เหล่านั้น หรือว่าใช้ให้
วางภาชนะของเดียรถีย์เหล่านั้นลงแล้ว ให้บนภาชนะนั้น แม้จะตั้งบาตรไว้บน
เชิงรอง หรือบนพื้นดินแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาจากบาตรนี้ ก็ควร.
ถ้าว่าเดียรถีย์พูดว่า ของสิ่งนี้เป็นของส่วนตัวของเราแท้, ขอท่านโปรดใส่อามิส
นั้นลงในภาชนะนี้ พึงใส่ลงไป. เพราะเป็นของส่วนตัวของเดียรถีย์นั้น จึงไม่
ชื่อว่า เป็นการให้ด้วยมือตนเอง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
อเจลกสิกขาบทที่ 1 จบ