เมนู

เมื่อไม่มีกัปปิยการก จะถือเอายามหาวิกัติ 4 ฉันแม้เอง ก็ควร. ก็
ในอธิการแห่งยามหาวิกัตินี้ กัปปิยะการกเป็นคนว่ายากก็ดี เป็นผู้ไม่สามารถก็ดี
ย่อมตั้งอยู่ในฝักฝ่ายไม่มีเหมือนกัน. เมื่อเถ้าไม่มี ภิกษุพึงเผาไม้แห้งเอาเถ้า
เมื่อไม้ฟืนแห้งไม่มี แม้จะตัดฟืนสดจากต้นไม้ทำเถ้าก็ควร. ก็ยามหาวิกัติทั้ง 4
อย่างนี้ ชื่อว่า อนุญาตเฉพาะกาล ควรแต่ในเวลาถูกงูกัดเท่านั้น. บทที่เหลือ
ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดจากทางกาย 1
ทางกายกับจิต 1 เป็นกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัขชะ
กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ทันตโปณสิกขาบทที่ 10 จบ
โภชนวรรคที่ 4 จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง


1. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในโรงทาน
2. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารเป็นหมู่.
3. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารทีหลัง.
4. กาณมาตาสิกขาบท ว่าด้วยอุบายสิกากาณมาตา.
5. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วฉันอีก.
6. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วถูกแค่นให้ฉัน.
7. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในเวลาวิกาล.
8. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยรับประเคนเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน
9. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยขอโภชนะอันประณีต.
10. ทันตไปณสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารที่ทำการสั่งสม.