เมนู

บาลีมุตตกวินิจฉัย


ก็ในสิกขาบทนี้ พึงทราบบาลีมุตตกวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[การรับประเคนมีองค์ 5 อย่าง]


การรับประเคน ย่อมขึ้นด้วยองค์ 5 คือ ของพอบุรุษมีกำลังปานกลาง
ยกได้ 1 หัตถบาสปรากฏ (เขาอยู่ในหัตถบาส) 1 การน้อมถวายปรากฏ
(เขาน้อมถวาย) 1 เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ดิรัจฉานก็ตาม ถวาย (ประเคน) 1
และภิกษุรับประเคนของนั้นด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย 1. การรับ-
ประเคนย่อมขึ้นด้วยองค์ 5 ด้วยประการอย่างนั้น. ในองค์ 5 นั้น หัตถบาส
แห่งภิกษุผู้ยืนนั่งและนอน บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปวารณา-
สิกขาบท.
ก็ถ้าบรรดาผู้ให้และผู้รับประเคน ฝ่ายหนึ่งอยู่บนอากาศ ฝ่ายหนึ่งอยู่
บนพื้น, พึงกำหนดประมาณหัตถบาสทางศีรษะของผู้ยืนอยู่บนพื้น และทาง
ริมด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า ของผู้ยืนอยู่บนอากาศ ยกเว้นมือที่เหยียดออก
เพื่อให้หรือเพื่อรับเสีย. ถ้าแม้นฝ่ายหนึ่งอยู่ในหลุม (บ่อ) อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ริมหลุม
หรือฝ่ายหนึ่งอยู่บนต้นไม้ อีกฝ่ายหนึ่งอยู่บนแผ่นดิน ก็พึงกำหนดประมาณ
หัตถบาส โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ถ้าแม้นนกเอาจะงอยปากคาบดอกไม้ หรือผลไม่ถวาย หรือช้างเอา
งวงจับดอกไม้ หรือผลไม่ถวายอยู่ในหัสถบาสเห็นปานนี้, การรับประเคน
ย่อมขึ้น (ใช้ได้). ก็ถ้าภิกษุนั่งอยู่บนคอช้างแม้สูง 7 ศอกคืบ จะรับของที่ช้าง
นั้นถวายด้วยงวงก็ควรเหมือนกัน. ทายกคนหนึ่งทูนภาชนะข้าวสวยและกับข้าว
เป็นอันมากไว้บนศีรษะ มายังสำนักของภิกษุพูดทั้งยืนว่า นิมนต์ท่านรับเถิด

การน้อมถวายยังไม่ปรากฏก่อน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรรับ. แต่ถ้าเขาน้อม
ลงมาแม้เพียงเล็กน้อย, ภิกษุพึงเหยียดแขนออกรับภาชนะอันล่าง แม้โดย
เอกเทศ. ด้วยการรับเพียงเท่านี้ ภาชนะทั้งหมดเป็นอันรับประเคนแล้ว. ตั้งแต่
รับประเคนนั้นไป จะยกลง หรือเลื่อนออก แล้วหยิบเอาของที่คนต้องการ
สมควรอยู่. ส่วนในภาชนะเดียวกันมีกระบุงซึ่งมีข้าวสวยเป็นต้น ไม่มีคำที่จะ
พึงกล่าวเลย.
แม้ทายกผู้หาบภัตตาหารไป ถ้าน้อมหาบลงถวาย สมควรอยู่. ถ้าแม้น
มีไม้ไผ่ยาว 30 ศอก, ที่ปลายข้างหนึ่งผูกหม้อน้ำอ้อยแขวนไว้ ที่ปลายข้างหนึ่ง
ผูกหม้อเนยใสแขวนไว้, ถ้าภิกษุรับประเคนลำไม้ไผ่นั้น เป็นอันรับประเคน
ของทั้งหมดเหมือนกัน.
ถ้าทายกกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับน้ำอ้อยสดซึ่งกำลังไหลออกจากราง
หีบอ้อย การน้อมเข้ามาถวาย ยิ่งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงไม่สมควรรับ.
แต่ถ้าเขาเอากากทิ้งแล้วเอามือวักขึ้นถวาย ๆ ควรอยู่.
บาตรมากใบ เขาวางไว้บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี บนเสื่อลำแพนก็ดี
บนรางไม้ก็ดี บนแผ่นกระดานก็ดี. ทายก (ผู้ให้) อยู่ในหัตถบาสแห่งภิกษุ
ผู้อยู่ในที่ใด, ของที่เขาให้ในบาตรเหล่านั้น อันภิกษุผู้อยู่ในที่นั้น แม้เอานิ้ว
แตะเตียงเป็นต้น ด้วยความหมายว่ารับประเคนจะยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม
นอนอยู่ก็ตาม เป็นอันรับประเคนแล้วทั้งหมด. ถ้าแม้นภิกษุขึ้นนั่งเตียงเป็นต้น
ด้วยหมายใจว่า เราจักรับประเคน. ก็ควรเหมือนกัน.
ก็ถ้าแม้นเขาวางบาตรทั้งหลายไว้บนแผ่นดิน เอากระพุ้งกับกระพุ้ง
จดกัน, ของที่เขาถวายในบาตรใบที่ภิกษุนั่ง เอานิ้วมือหรือเข็มแตะไว้เท่านั้น
เป็นอันรับประเคนแล้ว. ท่านกล่าวไว้ในที่บางแห่งว่า การรับประเคนในบาตร

ที่เขาตั้งไว้บนเสื่อลำแพนผืนใหญ่ และเครื่องลาดหลังช้างเป็นต้น ย่อมไม่ขึ้น.
คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาการล่วงเลยหัตถบาสไป. แต่เมื่อมีหัตถ-
บาสในที่ใดที่หนึ่งก็ควร นอกจากของซึ่งเกิดอยู่กับที่นั้น.
ก็การรับประเคนบนใบปทุม หรือบนใบทองกวาวเป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่
กับที่นั้น ย่อมไม่ควร. เพราะใบปทุมเป็นต้นนั้น ไม่ถึงการนับว่าของเนื่อง
ด้วยกาย. เหมือนอย่างว่าในของเกิดกับที่นั้น การรับประเคนไม่ขึ้น ฉันใด
ในเตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอเป็นต้น ในแผ่นกระดาน หรือในหินที่เป็นอสังหาริมะ
การรับประเคน ก็ไม่ขึ้นเหมือนกัน ฉันนั้น. จริงอยู่ เตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอ
เป็นต้นแม้นั้นเป็นของควรสงเคราะห์เข้ากับของที่เกิดอยู่กับที่นั้น.
แม้บนใบมะขามเป็นต้น ซึ่งเป็นใบเล็ก ๆ ดาดไว้บนพื้น การรับ
ประเคนก็ไม่ขึ้น. เพราะว่า ใบมะขามเป็นต้นเหล่านั้น ไม่สามารถจะทั้งไว้ได้
ด้วยดี. แต่บนใบที่ใหญ่มีใบปทุมเป็นต้น (รับประเคน) ขึ้น.
ถ้าทายก (ผู้ให้) ยืนเลยหัตถบาสในที่นั้น เอากระบวยคันยาวตักถวาย,
ภิกษุพึงบอกเขาว่า เข้ามาถวายใกล้ ๆ. เขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่เอื้อเฟื้อ
เทลงไปในบาตรทีเดียว, ภิกษุพึงรับประเคนใหม่. แม้ในบุคคลผู้ยืนอยู่ห่าง
โยนก้อนข้าวไปถวาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าในบาตรที่นำออกมาจากถุงบาตร
มีผงน้ำย้อม, เมื่อมีน้ำพึงล้างเสียก่อน. เมื่อไม่มี พึงเช็ดผงน้ำย้อม หรือรับ
ประเคนแล้ว จึงเที่ยวไปบิณฑบาต. ถ้าเมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตผงตกลง (ในบาตร)
พึงรับประเคนก่อนจึงรับภิกษา. แต่เมื่อไม่รับประเคน รับ (ภิกษา) เป็น
วินัยทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับประเคนธุลีที่ตกนั้นใหม่แล้วฉัน. ก็ถ้า
เมื่อภิกษุกล่าวว่า รับประเคนก่อนจงถวาย พวกเขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่
เอื้อเฟื้อถวายภิกษุเลยทีเดียว, ไม่เป็นวินัยทุกกฏ. ภิกษุรับประเคนใหม่แล้ว
พึงรับภิกษาอื่นเถิด.

[วิธีปฏิบัติเมื่อมีของตกลงในบาตรในเวลาต่าง ๆ]


ถ้าลมแรงพัดธุลีให้ลอยไปตกจากที่นั้น ๆ, ภิกษุไม่อาจรับภิกษาได้,
จะผูกใจรับด้วยจิตบริสุทธิ์ว่า เราจักให้แก่อนุปสัมบัน ควรอยู่. เที่ยวไป
บิณฑบาตอย่างนั้นแล้วกลับไปยังวิหาร หรืออาสนศาลา ให้ภิกษานั้นแก่
อนุปสัมบันแล้ว จะรับเอาภิกษาที่อนุปสัมบันนั้น ถวายใหม่ หรือจะถือเอาของ
อนุปสัมบันนั้นด้วยวิสาสะฉัน ก็ได้.
ถ้าภิกษุให้บาตรที่มีธุลีแก่ภิกษุในเวลาเที่ยวภิกษาจาร, พึงบอกภิกษุ
เจ้าของบาตรนั้นว่า ท่านรับประเคนบาตรนี้แล้ว พึงรับภิกษาหรือพึงฉัน.
ภิกษุเจ้าของบาตรนั้น พึงทำอย่างนั้น. ถ้าธุลีลอยอยู่ข้างบน, พึงรินน้ำข้าวออก
แล้วฉันส่วนที่เหลือเถิด. ถ้าธุลีจมแทรกลงข้างใน พึงประเคนใหม่. เมื่อไม่มี
อนุปสัมบันอย่าปล่อย (บาตร) จากมือเลย พึงนำไปในที่ซึ่งมีอนุปสัมบัน
แล้วรับประเคนใหม่. จะนำธุลีที่ตกลงในข้าวแห้งออกแล้วฉัน ก็ควร. แต่ถ้า
เป็นธุลีละเอียดมาก พึงนำออกพร้อมกับข้าวสวยส่วนข้างบน หรือพึงรับประเคน
ใหม่ แล้วฉันเถิด.
เมื่อชาวบ้านวางข้าวยาคูหรือแกงไว้ข้างหน้าแล้วคน หยดแกงกระเซ็น
ขึ้นจากภาชนะตกลงในบาตร. ภิกษุพึงรับประเคนบาตรใหม่. เมื่อพวกเขาเอา
กระบวยตักมาถวาย หยาดสูปะเป็นต้น หยดออกจากกระบวยตกลงไปในบาตร
ก่อน, เป็นอันตกลงไปด้วยดี ไม่มีโทษ เพราะเขาน้อมเข้ามาถวาย
ถ้าแม้นเมื่อเขาเอาจอกน้ำเกลี่ยข้าวสุกลงอยู่ เขม่า หรือเถ้าตกลงไป
จากจอกน้ำ ไม่มีโทษเหมือนกัน เพราะเขาน้อมถวาย ของที่เขากำลังถวายแก่
ภิกษุรูปถัดไป กระเด็นออกจากบาตรไปตกในบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็น
อันตกไปดี จัดว่ารับประเคนแล้วเหมือนกัน.
เมื่อเขาจัดผักปลัง (ผักไห่) ดองเป็นต้น ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
หยดน้ำ (ผักดอง) จากผักดองตกลงไปในบาตรของภิกษุอื่นเธอพึงรับประเคน