เมนู

บทว่า วทฺธโร แปลว่า อ้วนล่ำ. มีคำอธิบายว่า ภิกษุนี้ทั้งอ้วน
ทั้งมีร่างกายล่ำสัน.
สามบทว่า มนุสฺสมํสํ มญฺเญ ขาทติ มีความว่า พวกเราเข้าใจ
ภิกษุนั้นว่า บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์. ประชาชนเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า
ความจริง พวกคนกินเนื้อมนุษย์ ย่อมเป็นผู้เช่นนี้.
ในคำว่า อุทกทนฺตโปเณ กุกฺกุจฺจายนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ได้สังเกตอรรถแห่งบ่ทว่า พึงกลืนกินอาหารที่เขาไม่ได้ให้
ผ่านทวารปากเข้าไป ให้ถูกต้อง จึงได้พากันรังเกียจ. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้ยอมตกลง ด้วยอำนาจแห่งเรื่องตามที่เกิดขึ้น
แล้ว ดุจบิดาชี้แจงให้พวกลูก ๆ ยินยอม ฉะนั้น จึงได้ทรงตั้งอนุบัญญัติไว้.
บทว่า อทินฺนํ มีความว่า เขาไม่ได้ให้ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย
และการโยนให้อย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ภิกษุผู้รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วย
กาย. จริงอยู่ พระอุบาลีเถระหมายเอาของที่เขาไม่ได้ให้นี้แหละ จึงกล่าวไว้
ในบทภาชนะว่า ชื่อว่าของที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านเรียกของที่ยังไม่ได้รับประเคน.
แต่ในทุติยปาราชิกตรัสว่า ชื่อว่า ของทำเขาไม่ได้ให้ ท่านเรียกทรัพย์ที่ผู้อื่น
หวงแหน. ส่วนบทว่า ของที่เขาให้นี้ ท่านยกขึ้นไว้ เพื่อแสดงลักษณะแห่ง
ของที่เขาไม่ได้ให้นั้นนั่นแหละ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่ทรงกันข้าม.

[ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน]


ก็ในนิเทศแห่งบทว่า ทินฺนํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ข้อว่า กาเยน
วา กายปฏิพทฺเธน วา นิสฺสคฺคิเยน วา เทนฺเต
ได้แก่ เมื่อคนอื่น
เขาให้อยู่อย่างนี้ (คือให้อยู่ด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยการ
โยนให้).

ข้อว่า หตฺถปาเส ฐิโต กาเยน วา กายปฏิพทฺเธน วา ปฏิคฺคณ-
หาติ
มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในหัตถบาสมีลักษณะดังกล่าวแล้วในก่อน รับ
ประเคนของนั้นที่เขาให้อยู่อย่างนั้น ชั้นที่สุดแม้ละอองรถด้วยกาย หรือด้วย
ของเนื่องด้วยกาย. วัตถุนั่นที่รับประเคนแล้ว อย่างนั้นท่านเรียกชื่อว่า ของที่
เขาให้. ของที่เขาเสียสละด้วยคำว่า ท่านจงถือเอาของนี้, ของนี้จงเป็นของท่าน
เป็นต้น ท่านไม่เรียกชื่อว่าของที่เขาให้.
บรรดานิเทศเหล่านั้น บทว่า กาเยน มีความว่า ที่เขาให้ด้วยบรรดา
สรีราวัยวะมีมือเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุด แม้ด้วยนิ้วเท้า ก็เป็น
อันชื่อว่าเขาให้แล้วด้วยกาย. แม้ในการรับประเคน ก็นัยนี้นั่นแล. แท้จริง
ของที่ภิกษุรับประเคนด้วยสรีราวัยวะ (ส่วนแห่งร่างกาย) ส่วนใดส่วนหนึ่ง
จัดว่า รับประเคนแล้วด้วยกายเหมือนกัน. ถ้าแม้นเขาให้ของที่ต้องทำการนัตถุ์
ภิกษุอาพาธไม่อาจนัตถุ์เข้าทางช่องจมูกได้เลย รับเข้าทางปากได้ (รับประเคน
ทางปากได้). ความจริง เพียงความใส่ใจเท่านั้น เป็นประมาณในการรับ
ประเคนนี้. นัยนี้ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน มีความว่า ของที่เขาให้ด้วยอุปกรณ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาอุปกรณ์ มีทัพพีเป็นต้น เป็นอันชื่อว่าเขาให้ด้วยของเนื่อง
ด้วยกาย. แม้ในการรับประเคนก็นัยนี้เหมือนกัน. ของที่ภิกษุรับด้วยวัตถุ
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยร่างกาย มีบาตรและถาดเป็นต้น จัดว่ารับประเคน
ด้วยของเนื่องด้วยกายเหมือนกัน.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน มีความว่า ก็ของที่เขาโยนถวายให้พ้นจากกาย
และจากของเนื่องด้วยกาย แก่ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาส ด้วยกายหรือของเนื่อง
ด้วยกาย เป็นอันชื่อว่าเขาถวายด้วยประโยคที่โยนให้. นี้เป็นการพรรณนาตาม
พระบาลีก่อน.

บาลีมุตตกวินิจฉัย


ก็ในสิกขาบทนี้ พึงทราบบาลีมุตตกวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[การรับประเคนมีองค์ 5 อย่าง]


การรับประเคน ย่อมขึ้นด้วยองค์ 5 คือ ของพอบุรุษมีกำลังปานกลาง
ยกได้ 1 หัตถบาสปรากฏ (เขาอยู่ในหัตถบาส) 1 การน้อมถวายปรากฏ
(เขาน้อมถวาย) 1 เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ดิรัจฉานก็ตาม ถวาย (ประเคน) 1
และภิกษุรับประเคนของนั้นด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย 1. การรับ-
ประเคนย่อมขึ้นด้วยองค์ 5 ด้วยประการอย่างนั้น. ในองค์ 5 นั้น หัตถบาส
แห่งภิกษุผู้ยืนนั่งและนอน บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปวารณา-
สิกขาบท.
ก็ถ้าบรรดาผู้ให้และผู้รับประเคน ฝ่ายหนึ่งอยู่บนอากาศ ฝ่ายหนึ่งอยู่
บนพื้น, พึงกำหนดประมาณหัตถบาสทางศีรษะของผู้ยืนอยู่บนพื้น และทาง
ริมด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า ของผู้ยืนอยู่บนอากาศ ยกเว้นมือที่เหยียดออก
เพื่อให้หรือเพื่อรับเสีย. ถ้าแม้นฝ่ายหนึ่งอยู่ในหลุม (บ่อ) อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ริมหลุม
หรือฝ่ายหนึ่งอยู่บนต้นไม้ อีกฝ่ายหนึ่งอยู่บนแผ่นดิน ก็พึงกำหนดประมาณ
หัตถบาส โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ถ้าแม้นนกเอาจะงอยปากคาบดอกไม้ หรือผลไม่ถวาย หรือช้างเอา
งวงจับดอกไม้ หรือผลไม่ถวายอยู่ในหัสถบาสเห็นปานนี้, การรับประเคน
ย่อมขึ้น (ใช้ได้). ก็ถ้าภิกษุนั่งอยู่บนคอช้างแม้สูง 7 ศอกคืบ จะรับของที่ช้าง
นั้นถวายด้วยงวงก็ควรเหมือนกัน. ทายกคนหนึ่งทูนภาชนะข้าวสวยและกับข้าว
เป็นอันมากไว้บนศีรษะ มายังสำนักของภิกษุพูดทั้งยืนว่า นิมนต์ท่านรับเถิด