เมนู

บทว่า วทฺธโร แปลว่า อ้วนล่ำ. มีคำอธิบายว่า ภิกษุนี้ทั้งอ้วน
ทั้งมีร่างกายล่ำสัน.
สามบทว่า มนุสฺสมํสํ มญฺเญ ขาทติ มีความว่า พวกเราเข้าใจ
ภิกษุนั้นว่า บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์. ประชาชนเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า
ความจริง พวกคนกินเนื้อมนุษย์ ย่อมเป็นผู้เช่นนี้.
ในคำว่า อุทกทนฺตโปเณ กุกฺกุจฺจายนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ได้สังเกตอรรถแห่งบ่ทว่า พึงกลืนกินอาหารที่เขาไม่ได้ให้
ผ่านทวารปากเข้าไป ให้ถูกต้อง จึงได้พากันรังเกียจ. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้ยอมตกลง ด้วยอำนาจแห่งเรื่องตามที่เกิดขึ้น
แล้ว ดุจบิดาชี้แจงให้พวกลูก ๆ ยินยอม ฉะนั้น จึงได้ทรงตั้งอนุบัญญัติไว้.
บทว่า อทินฺนํ มีความว่า เขาไม่ได้ให้ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย
และการโยนให้อย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ภิกษุผู้รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วย
กาย. จริงอยู่ พระอุบาลีเถระหมายเอาของที่เขาไม่ได้ให้นี้แหละ จึงกล่าวไว้
ในบทภาชนะว่า ชื่อว่าของที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านเรียกของที่ยังไม่ได้รับประเคน.
แต่ในทุติยปาราชิกตรัสว่า ชื่อว่า ของทำเขาไม่ได้ให้ ท่านเรียกทรัพย์ที่ผู้อื่น
หวงแหน. ส่วนบทว่า ของที่เขาให้นี้ ท่านยกขึ้นไว้ เพื่อแสดงลักษณะแห่ง
ของที่เขาไม่ได้ให้นั้นนั่นแหละ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่ทรงกันข้าม.

[ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน]


ก็ในนิเทศแห่งบทว่า ทินฺนํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ข้อว่า กาเยน
วา กายปฏิพทฺเธน วา นิสฺสคฺคิเยน วา เทนฺเต
ได้แก่ เมื่อคนอื่น
เขาให้อยู่อย่างนี้ (คือให้อยู่ด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยการ
โยนให้).