เมนู

ทุกะทุกกฏ


อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน...ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับประเคนไว้แล้ว ...ไม่
ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[526] กลืนน้ำและไม้ชำระฟัน 1 ฉันยามหาวิกัติ 4 ในเมื่อมีเหตุ
ฉุกเฉินเมื่อกัปปิยการกไม่มี ภิกษุถือเอาเองแล้วฉันได้ ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ 4 จบ

ทันตโปณสิกขาบทที่ 10


ในสิกขาบทที่ 10 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก่อรรถด้วยภิกษุถือบังสุกุลทุกอย่าง]


ภิกษุนั้น ชื่อว่า สรรพบังสุกูลิกะ (ผู้มีปกติถือบังสกุลทุกอย่าง)
เพราะอรรถว่า ภิกษุนั้นมีบรรดาปัจจัย 4 ทุกอย่าง โดยที่สุด แม้ไม้ชำระฟัน
ก็เป็นบังสกุลทั้งนั้น. ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ทำภาชนะที่เขาทั้งในป่าช้านั้นนั่นเอง
ให้เป็นบาตร ทำจีวรด้วยท่อนผ้าที่เขาทิ้งในป่าช้านั้นนั่นแหละ ถือเอาเตียง
และตั่งที่เขาทั้งในป่าช้านั้นเหมือนกันใช้สอย.
ปู่และตาของบิดาผู้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า อัยยะ ในคำว่า อยฺย-
โวสาฏิตกานิ
นี้. ขาทนียะและโภชนียะที่เขาเซ่นทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นต้น
เพื่อประโยชน์แก่บรรพบุรุษเหล่านั้น เรียกว่า โวสาฏิตกะ (เครื่องเซ่น).
ได้ยินว่า พวกมนุษย์ได้ทำของอันเป็นที่รักแห่งพวกญาติเหล่านั้น ในเวลาที่
ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นก้อนข้าวบิณฑ์อุทิศพวกญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่นวางไว้
ในที่ทั้งหลาย มีป่าช้าเป็นต้นนั่นด้วยตั้งใจว่า ขอเหล่าญาติของพวกเรา จง
บริโภคเถิด.
ภิกษุนั้นเอาข้าวบิณฑ์นั้นมาฉัน, ไม่ปรารถนาของอื่นแม้ประณีตที่เขา
ถวาย. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถือเอา
อาหารเครื่องเซ่นเจ้าที่ป่าช้าบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง
ดังนี้.
บทว่า เถโร แปลว่า แข็งแรง คือ ล่ำสัน.