เมนู

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[514] ของทำการสั่ง ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี
ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี
ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี
ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


ภิกษุรับประเคนของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อ
ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.
ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย. ..ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม .. .ไม่ต้องอาบัติ .

อนาปัตติวาร


[515] ภิกษุเก็บของเป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล 1 ภิกษุเก็บของ
เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม 1 ภิกษุเก็บของเป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์ 1
ภิกษุฉันของเป็นยาวชีวิกในเมื่อมีเหตุสมควร 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรคสิกขาบทที่ 8 จบ

สันนิธิการสิกขาบทที่ 8


ในสิกขาบทที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะทำการสั่งสม]


พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ภายในแห่งภิกษุชฎิลพันรูป ชื่อว่า
เวฬัฏฐสีสะ.
สองบทว่า อรญฺเญ วิหรติ ได้แก่ อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง อันเป็น
เรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียรใกล้พระเชตวันวิหาร.
บทว่า สุกฺขกูรํ ได้แก่ ข้าวสุกไม่มีแกงและกับ. ได้ยินว่า พระเถระ
นั้นฉันภายในบ้านแล้ว ภายหลังเที่ยวบิณฑบาต นำเอาข้าวสุกเช่นนั้นมา. ก็แล
พระเถระนำเอาข้าวสุกนั้นมาเพราะความเป็นผู้มักน้อย ไม่ใช่เพราะความเป็นผู้
ติดในปัจจัย. ได้ยินว่า พระเถระยับยั้งอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติตลอด 7 วัน
ออกจากสมาบัติแล้ว เอาบิณฑบาตนั้นชุบน้ำฉัน, ย่อมนั่งเข้าสมาบัติต่อจาก
7 วันนั้นไปอีก 7 วัน, ท่านยับยั้งอยู่ตลอด 2 สัปดาห์บ้าง 3 สัปดาห์บ้าง
4 สัปดาห์บ้าง ด้วยประการอย่างนี้ จึงเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. เพราะเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า นาน ๆ ท่านจึงจะเข้าไปยังบ้าน
เพื่อบิณฑบาต.
คำว่า การ การณ์ กิริยา (ทั้ง 3 นี้) โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน.
การทำความสะสมมีอยู่แก่ขาทนียะและโภชนียะนั้น; ฉะนั้น จึงชื่อว่าสันนิธิการ.
สันนิธิการนั่นแหละ ชื่อว่า สันนิธิการก. ความว่า สันนิธิกิริยา (ความทำการ
สะสม). คำว่า สันนิธิการกนั้น เป็นชื่อ (แห่งขาทนียโภชนียะ) ที่ภิกษุ
รับประเคนไว้ให้ค้างคืน 1. ด้วยเหตุนั้นแล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบท