เมนู

ในมูลฬาลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหง้าบัวหลวงเป็นเช่นเดียวกัน
กับเหง้าบัวขาวนั่นแหละ. เหง้าที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่
โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิ
อย่างนั้น คือ เหง้าตะไคร้น้ำ เหง้าเถาคล้า เป็นยาวกาลิก.
ส่วนเหง้าของขมิ้น ขิง ปอ เถา 4 เหลี่ยม การะเกด ตาล เต่าร้าง
ต้นตาว * มะพร้าว ต้นหมากเป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก. เหง้าขมิ้นเป็นต้น
แม้ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชเหมือนกัน ในพระบาลีอย่างนี้ว่า
ก็หรือว่า มูลเภสัชแม้ชนิดอื่นในบรรดามี.
ในมัตถกขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยอดหรือหน่อแห่งต้นไม้และ
เถาวัลย์เป็นต้น ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่โภชนียะของ
พวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ยอด
ที่เรียกกันว่าหน่อของตาล เต่าร้าง ต้นตาว การะเกด มะพร้าว ต้นหมาก อินท-
ผลัม (เป้งก็ว่า) หวาย ตะไคร้น้า และกล้วย หน่อไม้ไผ่ หน่ออ้อ หน่ออ้อย
หน่อเผือกมัน หน่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด หน่อสามสิบ และหน่อแห่งธัญชาติ 7
ชนิด จัดเป็นยาวกาลิก. โคนรากอ่อน (ยอดอ่อน) แห่งหน่อขมิ้น ขิง ว่านน้ำ
ปอ กระเทียมและแห่งหน่อตาล เต่าร้าง ต้นตาว มะพร้าว ที่เขาตัดให้ขาด
ตกไปเป็นยาวชีวิก.

[ว่าด้วยลำต้นเปลือกและใบที่ควรคี้ยว]


ในขันธขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลำต้นมีอาทิอย่างนี้ คือลำต้น ไม้
ขานาง ลำอ้อย สายบัวเขียว บัวแดง โกมุท และจงกลนีที่อยู่ภายในปฐพี
ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่โภชนียะ ของพวกมนุษย์ด้วย
* บางท่านก็ว่า ต้นลาน.

อำนาจแห่งอาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ จัดเป็นยาวกาลิก. ก้านใบแห่งบัว
ชนิดอุบลชาติก็ดี ก้านทั้งหมดแห่งบัวชนิด ปทุมชาติก็ดี และก้านบัวที่เหลือ
ทุก ๆ อย่าง มีก้านบัวหลวงเป็นต้น จัดเป็น ยาวชีวิก.
ในตจขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- เปลือกอ้อยอย่างเดียวเท่านั้นท่าน
จัดเป็นยาวกาลิก. เปลือกอ้อยแม้นั้น ยิ่งเป็นของมีรส (หวานอยู่). เปลือก
ที่เหลือทุกอย่างเป็นยาวชีวก. ก็ยอด ลำต้น และเปลือกทั้ง 3 นั้น พึงทราบ
ว่า สงเคราะห์เข้ากับกสาวเภสัช ในพระบาลี. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตกสาวเภสัช (น้ำฝาดที่เป็นยา)
คือ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน (น้ำฝาดกระดอมหรือมูลกา1) น้ำฝาดบอ
ระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน, ก็หรือกสาวเภสัชแม้ชนิดอื่นใด
บรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค2.
การสงเคราะห์ยอดลำต้นและเปลือกแม้เหล่านั้นเข้าในพระพุทธานุญาตนี้
ย่อมสำเร็จ (ย่อมใช้ได้). และจำพวกน้ำฝาดที่กล่าวแล้วบัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นของสมควรโดยประการทุกอย่าง.
ในปัตตขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ใบทั้งหลายแห่งรุกชาติเหล่านี้
คือ เผือกมัน ลูกเดือย มันอ้อน และมันแดง มะพลับ บุนนาค ผักโหมหัด
มันใหญ่ ผักไห่ หรือผักปลัง มะคำไก่ หรือ มะกอก กะเพรา ถั่วเขียวจีน
ถั่วเหลือง ถั่วราชมาษ ยอป่าที่เหลือ เว้นยอใหญ่ (ยอบ้านเสีย) คนทิสอ
หรือพังคี เบญจมาศ กุ่มขาว มะพร้าว ชาเกลือเกิดบนดิน และใบไม้เหล่า
1. ในอรรถกถาตกปโฏลกสาวํ ในพระบาลีมีครบ-ผู้ชำระ. 2. วิ. มหา. 5/42.

อื่นเห็นปานนี้ ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และสำเร็จประโยชน์แก่ของ
ควรบริโภคของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ จัดเป็น
ยาวกาลิกโดยส่วนเดียว.
แต่ชาเกลือมีใบขนาดเท่าหลังเล็บเขื่อง ๆ แม้อื่นใด เลื้อยขึ้นบนต้นไม้
หรือพุ่มไม้, พวกอาจารย์ชาวเกาะ (ชาวชมพูทวีป หรือชาวลังกาทวีป) กล่าว
ใบชาเกลือนั้นว่า เป็นยาวชีวก และใบพรห1มีว่าเป็นยาวชีวิก. ใบมะม่วงอ่อน
เป็นยาวกาลิก. ส่วนใบอโศกอ่อนเป็นยาวชีวิก.
ก็หรือใบอื่นใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน
ใบกระดอม หรือกะเพรา หรือ แมงรักใบฝ้าย, ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิด
อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของควรบริโภค2 ดังนี้, ใบเหล่านั้น
เป็นยาวชีวิก และไม่ใช่แต่ใบอย่างเดียว แม้ดอกและผลของสะเดาเป็นต้นเหล่า
นั้นก็เป็นยาวชีวิก (เหมือนกัน) จำพวกใบที่เป็นยาวชีวิกจะไม่มีที่สุดด้วย
อำนาจการนับ อย่างนี้ว่า ใบกระดอม หรือมูลกา ใบสะเดา หรือบอระเพ็ด
ใบแมงรัก หรืออ้อยช้าง ใบตะไคร้ หรือผักคราด ใบพลู ใบบัว เป็นต้น.

[ว่าด้วยดอก ผล เมล็ด แป้ง และยางที่ควรเคี้ยว]


ในปุปผขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ดอกที่สำเร็จประโยชน์แก่ของ
ควรเคี้ยวและที่สำเร็จประโยชน์แก่ของที่ควรบริโภคของหมู่มนุษย์ ด้วยอำนาจ
แห่งอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ดอกเผือกมัน ดอก
ลูกเดือย ดอกมันอ้อน ดอกมันแดง ดอกมะพลับ (ดอกมันใหญ่) ดอกผัก
1. วชิรพุทฺธิ. แก้เป็น เทเมเตเยปณสา. 2. วิ. มหา. 5/42