เมนู

ในมูลฬาลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหง้าบัวหลวงเป็นเช่นเดียวกัน
กับเหง้าบัวขาวนั่นแหละ. เหง้าที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่
โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิ
อย่างนั้น คือ เหง้าตะไคร้น้ำ เหง้าเถาคล้า เป็นยาวกาลิก.
ส่วนเหง้าของขมิ้น ขิง ปอ เถา 4 เหลี่ยม การะเกด ตาล เต่าร้าง
ต้นตาว * มะพร้าว ต้นหมากเป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก. เหง้าขมิ้นเป็นต้น
แม้ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชเหมือนกัน ในพระบาลีอย่างนี้ว่า
ก็หรือว่า มูลเภสัชแม้ชนิดอื่นในบรรดามี.
ในมัตถกขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยอดหรือหน่อแห่งต้นไม้และ
เถาวัลย์เป็นต้น ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่โภชนียะของ
พวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ยอด
ที่เรียกกันว่าหน่อของตาล เต่าร้าง ต้นตาว การะเกด มะพร้าว ต้นหมาก อินท-
ผลัม (เป้งก็ว่า) หวาย ตะไคร้น้า และกล้วย หน่อไม้ไผ่ หน่ออ้อ หน่ออ้อย
หน่อเผือกมัน หน่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด หน่อสามสิบ และหน่อแห่งธัญชาติ 7
ชนิด จัดเป็นยาวกาลิก. โคนรากอ่อน (ยอดอ่อน) แห่งหน่อขมิ้น ขิง ว่านน้ำ
ปอ กระเทียมและแห่งหน่อตาล เต่าร้าง ต้นตาว มะพร้าว ที่เขาตัดให้ขาด
ตกไปเป็นยาวชีวิก.

[ว่าด้วยลำต้นเปลือกและใบที่ควรคี้ยว]


ในขันธขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลำต้นมีอาทิอย่างนี้ คือลำต้น ไม้
ขานาง ลำอ้อย สายบัวเขียว บัวแดง โกมุท และจงกลนีที่อยู่ภายในปฐพี
ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่โภชนียะ ของพวกมนุษย์ด้วย
* บางท่านก็ว่า ต้นลาน.