เมนู

วิกาลโภชนาสิกขาบทที่ 7


ใน* สิกขาบทที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

[เรื่องภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไปดูมหรสพบนยอดเขา]


บทว่า คิรคฺคสมชฺโช คือ มหรสพชั้นเยี่ยมบนภูเขา. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ มหรสพ (ที่แสดง) บนยอดเขาแห่งภูเขา. ทวยนครทำการโฆษณาใน
เมืองว่า นัยว่า มหรสพนั้นจักมีกันในวันที่ 7 ฝูงชนเป็นอันมากได้ชุมนุมกัน
ที่ร่มเงาแห่งบรรพต บนภูมิภาคที่ราบเรียบภายนอกเมือง การฟ้อนรำของพวก
นักฟ้อน มีประการมากมายหลายอย่างเป็นไปอยู่. ชนทั้งหลายได้ผูกเตียงซ้อน
เตียง เพื่อดูการฟ้อนรำของพวกนักฟ้อนเหล่านั้น. พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
อุปสมบทแต่ยังเด็ก ๆ ในเมื่อสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ. ภิกษุเหล่านั้นชักชวน
กันว่า ผู้มีอายุ ! พวกเราจักไปดูฟ้อนรำกัน แล้วได้ไปในที่นั้น. ครั้งนั้น
เหล่าญาติของพวกเธอ มีจิตยินดีว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราก็มาด้วย จึงให้
อาบน้ำ ลูบไล้ ให้ฉันแล้ว ได้ถวายแม้ของอื่น มีขนมและของควรเคี้ยวเป็น
ต้นติดมือไปด้วย. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายหมายถึงญาติเหล่านั้น จึง
ได้กล่าวว่า พวกมนุษย์ได้เห็นภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น เป็นต้น.
บทว่า วิกาเล คือ ในเมื่อกาลผ่านไปแล้ว. กาลแห่งโภชนะของ
ภิกษุทั้งหลายท่านประสงค์เอาว่า กาล ก็กาลแห่งโภชนะนั้นโดยกำหนดอย่าง
ต่ำกว่าเขาทั้งหมด เที่ยงวัน อธิบายว่า เมื่อกาล (เวลา) เที่ยงวันนั้นล่วง
เลยไปแล้ว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในบทภาชนะแห่งบทว่า วิกาเล นั้น
* ศัพท์ที่เป็นชื่อขาทนียะโภชนียะและเภสัชเป็นต้น เท่าที่ค้นหาได้แปลไว้ในสิกขาบทนี้ ยังไม่
แน่ใจของฝากที่ท่านผู้รู้พิจารณาแก้ไขต่อไป. - ผู้ชำระ.

พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เมื่อกาลเที่ยงวันล่วงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น ชื่อว่า
วิกาล แม้เวลาเที่ยงตรงก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นกาล. จำเดิมแต่เวลาเที่ยง
ตรงไป ภิกษุไม่อาจเพื่อจะเคี้ยวหรือฉันได้ (แต่) ยังอาจเพื่อจะรีบดื่มได้,
ส่วนภิกษุผู้มีความรังเกียจไม่พึงทำ. และเพื่อรู้กำหนดกาลเวลา ควรปักเสา
เครื่องหมายกาลเวลาไว้. อนึ่ง พึงทำภัตกิจภายในกาล.
ในคำว่า อวเสสํ ขาทนียํ นาม นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ใน
อาหารวัตถุมีขนมต้มเป็นต้น * ทำสำเร็จมาแต่บุพพัณชาติ และอปรัณชาติมีคำ
ที่ควรจะกล่าวก่อนอย่างนั้น:-
วัตถุแม้ใด มีชนิดเช่นใบและรากเหง้าเป็นต้น เป็นของมีดติอย่างอามิส,
นี้ คืออย่างไร ? คือ วัตถุแม้น เป็นต้นว่า รากควรเคี้ยว หัวควรเคี้ยว
เหง้าควรเคี้ยว ยอดควรเคี้ยว ลำต้นควรเคี้ยว เปลือกควรเคี้ยว ใบควรเคี้ยว
ดอกควรเคี้ยว ผลควรเคี้ยว เมล็ดควรเคี้ยว แป้งควรเคี้ยว ยางเหนียวควร
เคี้ยว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในขาทนียะ (ของควรเคี้ยว) ทั้งนั้น. ก็ใน
มูลขาทนียะเป็นต้นนั้น เพื่อกำหนดรู้ของควรเคี้ยวมีคติอย่างอามิส มีของควร
เคี้ยว ซึ่งจะชี้ให้เห็นพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-

[อธิบายของควรเคี้ยวที่จัดเป็นกาลิกต่าง ๆ]


พึงทราบวินิจฉัยในมูลขาทนียะก่อน :- ใบและรากที่ควรเป็นสูปะ
(กับข้าว) ได้ มีอาทิอย่างนั้น คือ มูลกมูล วารกมูล ปุจจุมูลตัมพกมูล
* อัตถโยชนา 2/70 สกฺขลิโมทโกติ วฏฺฏโมทโก. ชาวอินเดียเรียกขนมชนิดนี้ว่า ลัฑฑู นัยว่า
ทำจากแป้งเป็นก้อนกลม ๆ ข้างในใส่ไส้แล้วทอดด้วยน้ำมันพืชลักษณะใกล้กับขนมต้มของไทย
จึงได้แปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.