เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[505] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ คือ ฉันโภชนะ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด
แม้ฉันด้วยปลายหญ้าคา.

ลักษณะห้ามภัต


ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ กำลังฉันอาหารอยู่ 1 ทายกนำโภชนะ
มาถวายอีก 1 ทายกอยู่ในหัตถบาส 1 ทายกน้อมถวาย 1 ภิกษุห้ามเสีย 1.

ลักษณะของมิใช่เดน


ที่ชื่อว่า มิใช่เดน คือ ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ 1 ภิกษุมิได้
รับประเคน 1 ภิกษุมิได้ยกขึ้นส่งให้ 1 ท่านอกหัตถบาส 1 ภิกษุยังฉันไม่เสร็จ
ทำ 1 ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ลุกจากอาสนะแล้ว ทำ 1 ภิกษุมิได้พูดว่า
ทั้งหมดนั่นพอแล้ว 1 ของนั้นมิใช่เป็นเดนภิกษุอาพาธ 1 นี้ชื่อว่า มิใช่เดน.

ลักษณะของเคี้ยว


ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือเว้นโภชนะ 5 ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาห-
กาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.

ลักษณะของฉัน


ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ 5 คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง
ปลา เนื้อ.

บทว่า นำไปปวารณา คือ บอกว่า จงรับของตามที่ต้องการ.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือรูปอื่นบอกเธอ หรือภิกษุนั้นบอก.
ที่ชื่อว่า เพ่งจะหาโทษให้ คือ เพ่งเล็งว่า จักท้วง จักเตือน
จักท้วงซ้ำ จักเตือนซ้ำ ซึ่งภิกษุนี้ จักทำให้เป็นผู้เก้อ ด้วยโทษข้อนี้.
ภิกษุนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรับไว้ตามคำของเธอด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุผู้นำไป
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน เมื่อภิกษุนั้น
ฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[506] ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่าห้ามภัตแล้ว นำไปปวารณาด้วย
ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสงสัย นำไปปวารณาด้วยของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี
อันมิใช่เดน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต นำไปปวารณาด้วยของ
เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ไม่ต้องอาบัติ.
ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไปเพื่อประสงค์เป็นอาหาร
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุ
ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.
ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่า ห้ามภัตแล้ว . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.