เมนู

นอนห้ามภัตพึงฉันทั้ง ๆ ที่นอนนั่นแหละ. เมื่อจะพลิกตัว อย่าพึงให้เลยฐาน
แห่งสีข้างที่ตนนอนไป.

[ว่าด้วยลักษณะของเป็นเดนเป็นต้น]


บทว่า อนติริตฺตํ คือ ไม่เป็นเดน, ความว่า ไม่เหลือเฟือ. แต่
ของไม่เป็นเดนนั้น เป็นเพราะไม่ทำให้เป็นเดน โดยอาการแห่งวินัยกรรม 7
อย่าง มีของไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะเป็นต้น หรือไม่เป็นเดนของภิกษุอาพาธ;
เพราะฉะนั้น ในบทภาชนะจึงตรัสคำว่า อกปฺปิยกตํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกปฺปิยกตํ มีความว่า ในผลไม้เป็น
ต้น ผลไม้ หรือเหง้ามันเป็นต้นใด ยังไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะด้วยสมณโวหาร
ทั้ง 5 และอกัปปิยมังสะ หรืออกัปปิยโภชนะอันใดบรรดามี, ผลไม้เป็นต้นที่
ยังไม่ได้ทำกัปปิยะและอกัปปิยมังสะ อกัปปิยโภชนะนี้ชื่อว่า ของเป็นอกัปปิยะ,
ของเป็นอกับปิยะนั้น ภิกษุทำให้เป็นเดนอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว พึง
ทราบว่า อกปฺปิยกตํ (ของที่ยังมิได้กระทำให้เป็นกัปปิยะ).
บทว่า อปฏิคฺคหิตถตํ ได้แก่ ของที่ภิกษุยิ่งไม่ได้รับประเคนทำ
ให้เป็นเดนโดยนัยก่อนนั่นและ.
บทว่า อนุจฺจาริตกตํ ได้แก่ ของที่ภิกษุผู้มาเพื่อจะให้ทำกัปปิยะ
ยังมิได้ขยับยกให้หรือน้อมถวายแม้แต่น้อย.
สองบทว่า อหตฺถปาเส กตํ ได้แก่ ยืนทำนอกหัตถบาสของภิกษุ
ผู้มาเพื่อให้ทำกัปปิยะ.
สองบทว่า อภุตฺตาวินา กตํ ได้แก่ ภิกษุผู้ซึ่งทำให้เป็นเดนว่าทั้ง
หมดนั่นพอแล้ว ยังไม่ได้ฉันโภชนะที่เพียงพอแก่การห้ามทำแล้ว
คำว่า ภุตฺตาวินา ปวาริเตน อาสนา วุฏฺฐิเตน กตํ นี้ ตื้น
ทั้งนั้น.

คำว่า อลเมตํ สพฺพนฺติ อวุตฺตํ ได้แก่ ไม่เปล่งวาจาพูดอย่างนั้น
(พูดอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว). ของเป็นเดนอันใดยังไม่ได้ทำให้เป็น
กัปปิยะ โดยอาการแห่งวินัยกรรมทั้ง 7 อย่างนี้ และของใดไม่เป็นเดนแห่ง
ภิกษุอาพาธ. ของแม้ทั้ง 2 อย่างนั้น พึงทราบว่า ของไม่เป็นเดน ด้วย
ประการฉะนี้, ส่วนของเดน ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามของไม่เป็นเดนนั้น
นั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีคำอื่นที่จะพึงกล่าวอยู่ในของเป็นเดนนี้. คำว่า
ภุตฺตาวินา กตํ โหติ มีความว่า ถึงโภชนะที่ภิกษุฉันข้าวสุกแม้เมล็ดเดียว
หรือเคี้ยวเนื้อแม้ชิ้นเดียวจากบาตรของภิกษุผู้เป็นสภาคกันซึ่งนั่งถัดไปทำแล้ว
บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุผู้ฉันเสร็จแลทำ.
ส่วนในคำว่า อาสนา อวุฏฺฐิเตน นี้ เพื่อความไม่งมงาย มีวินิจฉัย
ดังต่อไป:- ภิกษุ 2 รูปฉัน แต่เช้ามืด เป็นผู้ห้ามภัตเสียแล้ว. ภิกษุรูปหนึ่ง
พึงนั่งในที่ห้ามภัตนั่นแหละ. อีกรูปหนึ่ง นำนิตยภัต หรือสลากภัตมาแล้ว
เทลงในบาตรของภิกษุนั้นครึ่งหนึ่ง ล้างมือแล้ว ให้ภิกษุนั้นทำส่วนที่เหลือให้
เป็นกัปปิยะแล้วฉันเถิด. เพราะเหตุไร ? เพราะว่าภัตที่ติดอยู่ในมือของภิกษุผู้
นำภัตมานั้น เป็นอกัปปิยะ แต่ถ้าภิกษุผู้นั่งอยู่แต่แรก เอามือรับเอาจากบาตร
ของภิกษุผู้นำภัตมานั้นด้วยตนเองนั่นแหละ, ไม่มีกิจจำต้องล้างมือ. แต่ถ้าเมื่อ
ภิกษุให้ทำเป็นกัปปิยะอย่างนั้นแล้วฉัน พวกทายกใส่แกง หรือของเคี้ยวบาง
อย่างลงในบาตรอีก ภิกษุผู้ทำให้เป็นกัปปิยะคราวก่อน ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำ
อีก. ภิกษุผู้ยังไม่ได้ทำ (ให้เป็นกัปปิยะ) พึงทำ. และพึงทำสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ
เท่านั้น (ให้เป็นกัปปิยะ).

สองบทว่า ยํ จ อกตํ เยน อกตํ มีความว่า ของที่ยังไม่ได้ทำ
(ให้เป็นกัปปิยะ) แม้ภิกษุผู้ซึ่งได้ทำกัปปิยะคราวแรก ก็ควรทำ (ให้เป็น
กัปปิยะ). แต่ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำในภาชนะแรก. อธิบายว่า เพราะว่า ของที่
ภิกษุทำอยู่ในภาชนะแรกนั้น ย่อมเป็นอันทำรวมกันกับของที่ทำไว้คราวแรก;
เพราะฉะนั้น จึงควรทำในภาชนะอื่น. แต่ของที่ทำแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นจะ
ฉัน รวมกับของทำไว้คราวแรก ควรอยู่. และเมื่อจะทำกัปปิยะ พึงทำในบาตร
อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, พึงวางไว้ในหม้อบ้าง ในกระเช้าบ้าง ในที่ใดที่หนึ่ง
ข้างหนึ่งแล้ว พึงทำในภาชนะที่เขาน้อมเข้ามาเถิด. ถ้าแม้นภิกษุตั้ง 100 รูป
ห้ามภัต, ทุกรูปจะฉันภัตที่ทำกัปปิยะแล้วนั้นก็ควร. แม้พวกภิกษุผู้ไม่ห้ามภัต
ก็ควรฉัน. แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ทำให้กัปปิยะ.
ถ้าแม้นชาวบ้านเห็นภิกษุผู้ห้ามภัตเข้าไปบิณฑบาต รับบาตรแล้วให้
นั่งในสถานที่นิมนต์เพื่อต้องการมงคล ซึ่งจะต้องมีการฉันแน่นอน, พึงให้ทำ
ให้เป็นเดนก่อนแล้วฉันเถิด. ถ้าในสถานที่นิมนต์นั้นไม่มีภิกษุอื่น, พึงส่งบาตร
ไปยังหอฉัน หรือวิหารแล้ว ให้ทำ (ให้เป็นเดน). แต่เมื่อจะทำกัปปิยะไม่
ควรทำของที่อยู่ในมืออนุปสัมบัน. ถ้าในหอฉันมีภิกษุไม่ฉลาด พึงไปให้ทำ
กัปปิยะอยู่เองแล้วนำมาฉันเถิด.
ในคำว่า คิลานาติริตฺตํ นี้ ภัตที่ภิกษุอาพาธฉันเหลืออย่างเดียวจึง
ชื่อว่า ภัตเป็นเดนของภิกษุอาพาธหามิได้, โดยที่แท้ วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เขานำมาเฉพาะภิกษุอาพาธ ด้วยใส่ใจว่า ท่านจักฉันในวันนี้หรือในพรุ่งนี้
หรือในเวลาที่ท่านต้องการ, วัตถุทั้งหมดนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เดนของภิกษุ
อาพาธ.

ทุกกฏที่ต้องทุก ๆ คำกลืน ในกาลิกทั้งหลายมียามกาลิกเป็นต้น ท่าน
ปรับด้วยอำนาจกาลิกไม่ระคนกัน. แต่ถ้าว่าเป็นกาลิกระคนกันกับอามิส เป็น
ปาจิตตีย์ทั้งนั้น แก่ภิกษุรับประเคนเพื่อประโยชน์แก่อาหารก็ดี เพื่อประโยชน์
มิใช่อาหารก็ดี กลืนกิน.
ข้อว่า สติ ปจฺจเย มีความว่า ภิกษุฉันยามกาลิก เพื่อขจัดความ
กระหายในเมื่อมีความกระหาย ฉันสัตตาหกาลิกและยาวชีวิก เพื่อระงับอาพาธ
นั้น ในเมื่อมีอาพาธที่จะพึงให้ระงับได้ ด้วยกาลิกนั้น ๆ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่
เหลือในสิกขาบทบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายและวาจา 1
ทางกายวาจาและจิต 1 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ 5 จบ

โภชนวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุ 2 รูป


[504] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ 2
รูปเดินทางไกลไปยังพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติ-
อนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนจึงเตือนเธอว่า อาวุโส ท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น
เพราะมันไม่สมควร เธอได้ผูกใจเจ็บในภิกษุเพื่อนนั้น ครั้น ภิกษุ 2 รูปนั้น
ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว พอดีเวลานั้นในพระนครสาวัตถีมีสังฆภัตของประ-
ชาชนหมู่หนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ภิกษุรูปทำผูกใจเจ็บไปสู่
ตระกูลญาติรับบิณฑบาตมาแล้วเข้าไปหาภิกษุที่เป็นเพื่อนนั้น ครั้นแล้วได้กล่าว
คำนี้กะเธอว่า อาวุโส นิมนต์ฉัน.
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า พอแล้ว อาวุโส ผมบริบูรณ์แล้ว.
รูปที่ผูกใจเจ็บแค่นไค้ว่า อาวุโส บิณฑบาตอร่อย นิมนต์ฉันเถิด.
ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกภิกษุผู้ผูกใจเจ็บนั้นแค่นได้ จึงได้ฉัน
บิณฑบาตนั้น .
รูปที่ผูกใจเจ็บจึงพูดต่อว่าภิกษุผู้เป็นเพื่อนว่า อาวุโส ท่านได้สำคัญ
ผมว่าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าว ท่านเองฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันโภชนะอัน
มิใช่เดนได้.
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนค้านว่า อาวุโส ท่านควรบอกมิใช่หรือ.
รูปที่ผูกใจเจ็บพูดแย้งว่า อาวุโส ท่านต้องถามมิใช่หรือ.