เมนู

นี้ ฝ่ายภิกษุผู้รับ (บาตร) ไปยืนนิ่งเฉยเสีย, ภิกษุหนุ่มห้ามว่า ผมพอแล้ว
ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะพระเถระอยู่ไกล และเพราะทูต
ไม่นำไปให้แล. ถ้าภิกษุผู้รับ (บาตร) มากล่าวว่า ท่านจงรับภัตนี้ เมื่อภิกษุ
หนุ่มปฏิเสธภัตนั้น จัดเป็นการห้าม (ภัต).
ในสถานที่อังคาส ทายกคนเดียวอังคาสภิกษุหลายรูป มือข้างหนึ่งถือ
กระเช้าข้าวสุก อีกข้างหนึ่งถือทัพพี. ถ้าในสถานที่อังคาสนั้นมีคนอื่นมาพูดว่า
ข้าพเจ้าจักช่วยถือกระเช้า ท่านจงถวายข้าวสุก แล้วทำกิจเพียงจับเท่านั้น
ก็ทายกผู้อังคาสนั่นเองยกกระเช้าข้าวสุกนั้น เพราะฉะนั้น กระเช้านั้น จัดว่า
อันเขานำมาจำเพาะแท้ จัดเป็นการห้าม (ภัต) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ผู้ถือ
(ภัต ) จากกระเช้านั้น ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แต่ถ้าผู้อังคาสเพียง
แตะต้อง (กระเช้า) เท่านั้น, คนนอกนี้แหละช่วยยกกระเช้านั้น, ไม่จัดว่า
เป็นการห้าม (ภัต ) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ซึ่งถือ (ภัต) จากกระเช้านั้น
ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แค่พอเขาเอาทัพพีตักภัต (การห้ามภัต)
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ห้าม. แท้จริง การน้อมเข้ามาโดยตรงด้วยทัพพีนั่นแหละ จัด
เป็นการน้อมถวายภัตนั้น. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ในภัตที่คน 2 คน ช่วย
กันยก เมื่อภิกษุปฏิเสธ ย่อมชื่อว่าห้ามภัตเหมือนกัน.
เมื่อทายกถวายภัตแก่ภิกษุผู้นั่งถัดไป ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เอามือปิดบาตร
ไม่เป็นการห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะห้ามภัตที่เขาน้อมถวายภิกษุ
รูปอื่น.

[ว่าด้วยการห้ามภัตมีการห้ามด้วยกายเป็นต้น]


ในคำว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺญายติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ภิกษุ
ปฏิเสธภัตที่เขาบอกถวายด้วยวาจา ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต), แต่เมื่อภิกษุ
ปฏิเสธด้วยกายหรือด้วยวาจา ซึ่งภัตที่เขาน้อมถวายด้วยกาย จึงเป็นการห้ามภัต.

ในการห้ามด้วยกายและวาจานั้น ที่ชื่อว่าการห้ามด้วยกาย คือภิกษุ
สั่นนิ้วมือ หรือมือพัดไล่แมลงหวี่ หรือชายจีวร กระทำอาการด้วยคิ้ว หรือ
โกรธแลดู. ที่ชื่อว่าห้ามด้วยวาจา คือ ภิกษุกล่าวว่า พอแล้ว หรือว่า ฉัน
ไม่รับ ว่า อย่าเทลง หรือว่า จงถอยไป. เมื่อภิกษุห้ามภัตด้วยกายหรือด้วย
วาจา โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นการห้าม (ภัต).
ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อทายกน้อมถวายภัต กลัวแต่การห้ามภัต ชักมือออก
พูดกะชนผู้เทข้าวสุกลงในบาตรแล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า ท่านจงเทลงไป ๆ เถิด จง
กดลง ๆ บรรจุให้เต็มเถิด, ถามว่า ในคำนี้ จะว่าอย่างไร ?
พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อน จัดเป็นการห้าม (ภัต) เพราะภิกษุ
พูดเพื่อต้องการไม่ให้เทลง
แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า จงเทลง จง
บรรจุให้เต็ม ดังนี้ บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) แล้ว จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อ
ว่าห้าม (ภัต).
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง สังเกตเห็นภิกษุผู้กำลังนำภัตไป กล่าวว่า ผู้มีอายุ !
ท่านจักรับอะไรบางอย่างจากบาตรของผมนี้บ้างไหม ? ผมจะถวายอะไร ? แก่
ท่านไหม ? ในคำแม้นนี้ พระมหาสุมนเถระก็กล่าวว่า จัดเป็นการห้าม (ภัต)
เพราะภิกษุนั้นกล่าวด้วยใส่ใจว่า ภิกษุนี้จักไม่มา (ยังสำนักของเรา) ด้วยการ
กล่าวอย่างนี้.
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า ท่านจักรับ
ไหม ? บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อว่าห้ามภัต.
ทายกคนหนึ่งน้อมถวายรสมีเนื้อ กล่าวว่านิมนต์ท่านรับรสเถิด. เมื่อ
ภิกษุได้ฟังคำนั้นแล้วปฏิเสธไป ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต ) เมื่อเขากล่าวว่า
รสปลา รสเนื้อ เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธ. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอ

นิมนต์ท่านรับรสปลาเนื้อนี้ ก็เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธเหมือนกัน. เขา
แยกเนื้อไว้ต่างหากกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับรสมีเนื้อ. ถ้าว่า ในรสนั้นมีชิ้นเนื้อ
แม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด, เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธรสนั้น. แต่ถ้าเป็น
รสที่เขากรองแล้ว ควรอยู่ ฉะนั้นแล.
พระอภัยเถระกล่าวว่า พระมหาเถระกล่าวว่า จงรอสักครู่หนึ่ง กะผู้
ถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยรสเนื้อ แล้วกล่าวว่า นำถาดมาเถิด คุณ ! ในคำนี้ จะว่า
อย่างไรกัน ?
พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อนว่า การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) ขาดไป
แล้วก่อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า
พระมหาเถระนี้จะไปที่ไหน ? การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) นั่น เป็นเช่นไร ?
การห้ามภัตย่อมมีแม้แก่ผู้รับ แล้วกล่าวต่อไปว่า ยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
พวกทายกแกงปลาและเนื้อผสมด้วยหน่อไม้และขนุนเป็นต้น. เขาถือ
เอาแกงนั้นมากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับแกงหน่อไม้. นิมนต์ท่านรับแกงขนุน.
แม้แกงนั่น ก็ไม่ห้าม (ภัต) เพราะเหตุไร ? เพราะเขากล่าวโดยชื่อแห่ง
สูปพยัญชนะที่ควรแก่การไม่ห้าม (ภัต). แต่ถ้าพวกเขากล่าวว่า แกงปลา
แกงเนื้อ ก็ดี, ว่า นิมนต์ท่านรับแกงปลาและเนื้อนี้ ก็ดี, คำนั้นย่อมห้าม (ภัต).
มีอาหาร ชื่อว่า มังสกรัมพก * (ยำเนื้อ) แม้ผู้ประสงค์จะถวาย
มังสกรัมพก (ยำเนื้อ) นั้น กล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับกรัมพก (ยำ) สมควรรับ
* สารตฺถทีปนี 3/326 กรมฺพโกติ มิสฺสกาธิวจนเมตํ. ยํ หิ อญฺเญนญฺเญน มิสฺเสตฺวา กโรนฺติ
โส กรมฺพโกติ วุจฺจติ. แปลว่า คำว่า กรัมพก นั่น เป็นชื่อของอาหารผสมกัน. จริงอยู่
อาการที่พวกชาวบ้านทำผสมกัน ด้วยของอย่างหนึ่งกับของอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า กรัมพก น่าจะ
ตรงกับคำว่า ยำ ของไทยเรา จึงแปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.

ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่เมื่อเขากล่าวว่า ยำเนื้อ หรือว่า ยำเนื้อนี้ คำนั้น
ย่อมห้ามภัต. แม้ในโภชนะที่ผสมด้วยปลาและเนื้อทุก ๆ อย่าง ก็นัยนี้เหมือน
กัน.
ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุใด ฉันอยู่ในสถานที่นิมนต์ เข้าใจเนื้อ
ที่เขาน้อมถวายว่า เป็นเนื้อที่เขาทำเจาะจง จึงห้ามเสีย ภิกษุนั้น จัดว่าเป็น
ผู้ห้ามภัตเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการห้ามภัตที่ระคนกัน ]


ส่วนมิสสกกถา (กถาว่าด้วยโภชนะระคนกัน) ท่านกล่าวไว้โดยละเอียด
ในกุรุนที. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร นำยาคูเจือด้วยข้าวสวยมาแล้ว กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคู ยังไม่
ชื่อว่าห้าม (ภัต). เมื่อเธอกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต จึงชื่อว่าห้าม (ภัต).
เพราะเหตุไร ? เพราะภัตที่ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตถามโดยเอื้อเฟื้อ (บอกถวาย)
มีอยู่.
ในคำว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัตเจือด้วยข้าวยาคู. ในภัตเจือ
ข้าวยาคูนั้น ถ้ายาคูมีมากกว่า หรือมีเท่า ๆ กันยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ถ้ายาคู
มีน้อย ภัตมีมากกว่า ชื่อว่าห้าม (ภัต) และคำนี้ใคร ๆ ไม่อาจคัดค้านได้
เพราะท่านกล่าวไว้ทุก ๆ อรรถกถา, แต่เหตุในคำนี้เห็นได้ยาก.
ผู้ถวายกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคูเจือด้วยภัต. ภัตมีมากกว่าก็ดี มี
เท่า ๆ กันก็ดี มีน้อยกว่าก็ดี ย่อมชื่อว่าห้าม (ภัต) เหมือนกัน. เขาไม่ระบุ
ถึงภัตหรือยาคู กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับโภชนะระคนกัน. ในโภชนะระคนกัน
นั้น ถ้าภัตมีมากกว่า หรือมีเท่ากันจัดว่าห้าม (ภัต), มีน้อยกว่า ยังไม่จัดว่า