เมนู

นี้ ฝ่ายภิกษุผู้รับ (บาตร) ไปยืนนิ่งเฉยเสีย, ภิกษุหนุ่มห้ามว่า ผมพอแล้ว
ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะพระเถระอยู่ไกล และเพราะทูต
ไม่นำไปให้แล. ถ้าภิกษุผู้รับ (บาตร) มากล่าวว่า ท่านจงรับภัตนี้ เมื่อภิกษุ
หนุ่มปฏิเสธภัตนั้น จัดเป็นการห้าม (ภัต).
ในสถานที่อังคาส ทายกคนเดียวอังคาสภิกษุหลายรูป มือข้างหนึ่งถือ
กระเช้าข้าวสุก อีกข้างหนึ่งถือทัพพี. ถ้าในสถานที่อังคาสนั้นมีคนอื่นมาพูดว่า
ข้าพเจ้าจักช่วยถือกระเช้า ท่านจงถวายข้าวสุก แล้วทำกิจเพียงจับเท่านั้น
ก็ทายกผู้อังคาสนั่นเองยกกระเช้าข้าวสุกนั้น เพราะฉะนั้น กระเช้านั้น จัดว่า
อันเขานำมาจำเพาะแท้ จัดเป็นการห้าม (ภัต) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ผู้ถือ
(ภัต ) จากกระเช้านั้น ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แต่ถ้าผู้อังคาสเพียง
แตะต้อง (กระเช้า) เท่านั้น, คนนอกนี้แหละช่วยยกกระเช้านั้น, ไม่จัดว่า
เป็นการห้าม (ภัต ) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ซึ่งถือ (ภัต) จากกระเช้านั้น
ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แค่พอเขาเอาทัพพีตักภัต (การห้ามภัต)
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ห้าม. แท้จริง การน้อมเข้ามาโดยตรงด้วยทัพพีนั่นแหละ จัด
เป็นการน้อมถวายภัตนั้น. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ในภัตที่คน 2 คน ช่วย
กันยก เมื่อภิกษุปฏิเสธ ย่อมชื่อว่าห้ามภัตเหมือนกัน.
เมื่อทายกถวายภัตแก่ภิกษุผู้นั่งถัดไป ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เอามือปิดบาตร
ไม่เป็นการห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะห้ามภัตที่เขาน้อมถวายภิกษุ
รูปอื่น.

[ว่าด้วยการห้ามภัตมีการห้ามด้วยกายเป็นต้น]


ในคำว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺญายติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ภิกษุ
ปฏิเสธภัตที่เขาบอกถวายด้วยวาจา ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต), แต่เมื่อภิกษุ
ปฏิเสธด้วยกายหรือด้วยวาจา ซึ่งภัตที่เขาน้อมถวายด้วยกาย จึงเป็นการห้ามภัต.