เมนู

จริงอยู่ ลักษณะที่กล่าวไว้แล้วในบทเดียว เป็นลักษณะที่บัณฑิตควรทราบใน
ทุก ๆ บท.
อีกอย่างหนึ่ง ในกุรุนทีก็ได้แสดงนัยนี้ไว้เหมือนกัน สมจริงดังที่
ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นว่า ภิกษุกลืนภัตในปากแล้ว ประสงค์จะให้ภัตในมือ
แก่คนกินเดน ประสงค์จะให้ภัตในบาตรแก่ภิกษุ ถ้าห้าม (โภชนะอื่น) ใน
ขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต) .

[องค์ว่าทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย]


ก็ในคำว่า หตฺถปาเส ฐิโต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ 2 ศอกคืบ
พึงทราบว่า หัตถบาส ถ้าภิกษุนั่งกำหนดตั้งแต่ริมสุดด้านหลังของอาสนะไป
ถ้ายืนกำหนดตั้งแต่ที่สุดส้นเท้าไป ถ้านอนกำหนดตั้งแต่ที่สุดด้านนอกแห่งสีข้าง
ที่นอนไป ด้วยที่สุดด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า เว้นมือที่เหยียดออกของ
ืทายกผู้นั่งอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม การห้ามภัตย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้ห้ามโภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสนั้น น้อมถวายเท่านั้น, นอกจากนั้นไปหา
มีไม่.
บทว่า อภิหรติ มีความว่า ทายกอยู่ภายในหัตถบาส น้อม (โภชนะ)
เข้าไปเพื่อรับ (ประเคน). ก็ถ้าว่าภิกษุผู้นั่งถัดไป ไม่นำบาตรที่อยู่ในมือ
หรือที่วางอยู่บนตัก หรือบนเชิงรองออกไปเลย กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ
ภัตตาหาร เมื่อภิกษุปฏิเสธภัตนั้น ไม่เป็นการห้าม (ภัต). แม้ในทายกผู้นำ
กระเช้าภัตมาวางไว้บนพื้นข้างหน้า แล้วกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ เถิด ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
แต่เมื่อเขาขยับยกขึ้นหรือน้อมเข้าไป กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเถิด
เมื่อภิกษุปฏิเสธ จัดเป็นการห้าม (ภัต). พระเถระนั่งอยู่บนเถระอาสน์ ส่ง
บาตรไปให้แก่ภิกษุหนุ่มผู้นั่งอยู่ในที่ไกลกล่าวว่า เธอจงรับเอาข้าวสุกจากบาตร