เมนู

แม้กำลังฉันกัปปิยโภชนะก็ดี อกัปปิยโภชนะก็ดี ห้ามกัปปิยโภชนะ
เสีย ชื่อว่าห้าม (ภัต). ห้ามอกัปปิยโภชนะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต), บัณฑิต
พึงทราบเหตุในทุก ๆ บทอย่างนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยการฉันและการห้ามโภชนะ]


บัณฑิตครั้นทราบโภชนะที่ภิกษุฉัน ในคำว่า อสนํ เป็นต้น และ
โภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย เมื่อภิกษุห้าม จึงถึงการห้าม (ภัต)
โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทราบอาการที่เป็นเหตุให้ถึง (การ
ห้ามภัต) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสนํ โภชนํ นี้ก่อน :- ภิกษุใดกลืนกิน
ภัตเข้าไปแม้เมล็ดเดียว ภิกษุนั้น เมื่อบรรดาโภชนะทั้ง 5 โภชนะแม้อย่าง-
หนึ่งมีอยู่ในบาตรูปากและมือ ที่ใดที่หนึ่ง ห้ามโภชนะทั้ง 5 แม้อย่างหนึ่งอื่น
ก็ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในที่ไหน ๆ มีบาตรเป็นต้น ปรากฏแต่เพียง
กลิ่นอามิส, ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในปาก และในมือ แต่มีอยู่
ในบาตร ฝ่ายภิกษุไม่ประสงค์จะฉันที่อาสนะนั้น ประสงค์จะเข้าไปยังวิหาร
แล้วฉัน หรือประสงค์ถวายแก่ภิกษุอื่น ถ้าปฏิเสธโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งใน
ระหว่างนั้น ยังไม่จัดว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นโภชนะ
ที่ฉันค้างอยู่ ขาดไป.
ในมหาปัจจรีกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุใดประสงค์จะไปฉันในที่อื่นกลืนภัต
ในปากแล้ว ถือเอาภัตส่วนที่เหลือเดินไปอยู่ ห้ามโภชนะอื่นในระหว่างทาง,
การห้ามภัตแม้ของภิกษุนั้น ก็ไม่มี.
ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่ประสงค์จะกลืนกินโภชนะที่มีอยู่ แม้ในมือ หรือแม้
ในปากเหมือนในบาตร, และห้ามโภชนะอื่นในขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต ).